ภาษา
ภาษา
ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีการดำรงชีวิตของชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อน โลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด ปัจจุบัน วัฒนธรรมหลักในเขตอำเภอแม่แจ่มคือวัฒนธรรมไทยวน ใช้ภาษาไทยวนเป็นหลัก อันเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ที่พูดภาษาอื่นๆ เช่น กะเหรี่ยง ลัวะ ม้ง
ภาษาไทยวน หรือ ภาษาคำเมือง
ภาษาคำเมือง หรือภาษาไทยวนเป็นภาษาในตระกูลไท และเป็นภาษาหลักคล้ายกับคำเมืองทั่วไป แต่ สำเนียงของแม่แจ่ม...
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อนพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชน โดยเฉพาะในแม่แจ่ม มีช่างฝีมือทั้งชายและหญิง ล้วนต่างแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยฝึกฝนตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ งานฝีมือบางประเภทเป็นของที่ใช้กันทั่วไป และบางประเภทเป็นงานเฉพาะเจาะจง โดยขอยกตัวอย่างงานฝีมือหลัก ดังต่อไปนี้
ช่างทอผ้า
ช่างทอผ้านี้ เป็นงานของผู้หญิง ทั้งชาวไทยวน ลัวะ และปกาเกอญอ ล้วนแล้วแต่มีฝีมือด้านนี้กันทั้งสิ้น ด้วยผ้าเป็นปัจจัยหลักนั่นคือเครื่องนุ่งห่ม ตามอัตลักษณ์ของตน แต่เดิมเป็นการทอผ้าใช้กันในครอบครัว และมีบางส่วนที่ทอขายสำหรับคนที่ไม่มีฝีมือทางด้านนี้
การทอผ้า มีการทอหลากหลายชนิด...
ความรู้ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และเหนือธรรมชาติ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ ได้ฝังในชีวิตและจิตวิญญาณของชาวแม่แจ่ม โดยเฉพาะความเชื่อและความศรัทธาในพ่อเจ้าหลวงทั้ง 3 พระองค์
เจ้าพ่อหลวง
เจ้าพ่อหลวงของอำเภอแม่แจ่ม ได้อัญเชิญมาจากดอยหลวงเชียงดาว ที่อารักษ์เมืองเชียงใหม่สถิตอยู่ที่นั่น ได้อัญเชิญเจ้าหลวงมาปกปักษ์รักษาชาวแม่แจ่ม 3 พระองค์ด้วยกัน คือ เจ้าหลวงม่วงก๋อน มีหอหลวงอยู่ที่บ้านยางหลวง, เจ้าหลวงกอนเมือง หออยู่ที่บ้านพร้าวหนุ่ม และเจ้าหลวงดอนแท่น หออยู่ที่น้ำแม่ออกฮู พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายมาปกปักษ์รักษา...
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
แม่แจ่มเป็นอำเภอที่อยู่หลังดอยอินทนนท์ คล้ายกับเป็นปราการกั้นการรุกล้ำของวัฒนธรรมภายนอกให้เข้ามาได้ช้าลง ทำให้แม่แจ่ม ยังอุดมไปด้วยพิธีกรรม เทศกาลงานประเพณีอันเป็นรากฐานดั้งเดิมเอาไว้ได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยวน กะเหรี่ยง ลัวะ ล้วนแต่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทุกชาติพันธ์มีความสัมพันธ์กัน ล้วนแต่ต้องพึ่งพาอาศัยกันเสมอ เป็นพี่น้องบ้านบน-บ้านลุ่ม ตลอดถึงมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันอยู่ตลอด ฉะนั้นความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ จึงไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ปัญหามักมาจากผลกระทบทางระบบเกษตรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะปัญหาการใช้น้ำ ด้วยบางกลุ่มอยู่ต้นน้ำ บางกลุ่มอยู่หางน้ำ จึงมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ก็ไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ด้วยดี
นอกจากนี้ ประเพณีต่างๆ ล้วนแล้วแต่หมุนเวียนไปกับทางพระพุทธศาสนา และการเพาะปลูกเป็นสำคัญ...
กีฬาภูมิปัญญาไทย
กีฬาภูมิปัญญาไทย
การเล่น กีฬาและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีการปฏิบัติกันอยู่ในแม่แจ่ม ยังคงมีมนต์ขลัง และมีเอกลักษณ์สะท้อนวิถีชีวิตของชาวล้านนา โดยแบ่งออกเป็น3 ประเภท คือการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
การเล่นพื้นบ้าน
การละเล่นพื้นบ้าน มีกิจกรรมของเด็กๆ ที่ใช้เล่นกันในยามว่าง การละเล่นนั้นเปรียบเหมือนการที่เด็กจะได้เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรม กิจกรรมต่างๆ ในสังคม การยอมรับในกฎกติการะหว่างกัน การเล่นมักมีหัวหน้า เรียกว่า “โป่” ในการดูแลเด็กๆ ทั้งหมด หากมีคนใดที่โกง ก็จะไม่มีใครยอมเล่นด้วย การละเล่นบางอย่าง...
วรรณกรรมพื้นบ้าน
วรรณกรรมพื้นบ้าน
วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งขอแบ่งออกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ กับวรรณกรรมมุขปาฐะ
วรรณกรรมลายลักษณ์
ในเขตอำเภอแม่แจ่ม จะมีวรรณกรรมลายลักษณ์ที่จารจดไว้ด้วยอักษรธรรมล้านนา มีทั้งเป็นวรรณกรรมในพิธีกรรม และวรรณกรรมประโลมโลก
“คำล่องสังขาร”
วรรณกรรมในพิธีกรรม เป็นการที่ปราชญ์ในยุคก่อนได้เรียบเรียงแต่งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมหนึ่งๆ เช่น คำเรียกขวัญ คำล่องสังขารในประเพณีสงกรานต์เป็นต้น
ขอหยิบยกเอาคำล่องสังขาร ของพ่อเปี้ย เก่งการธรรม ได้ประกอบพิธีล่องสังขารในวันสังขานต์ล่อง ณ ริมฝั่งน้ำแม่แจ่ม คำล่องสังขารว่าไว้ดังนี้
“โภนโต เทวสังขาโย ดูราปู่สังขาร ย่าสังขาร บัดนี้หมายมี สัทธาผู้ข้าทังหลาย ค็บ่ละเสียยังรีตบ่ลีดเสียยังปาเวณีล่วงแล้ว...
สาขาศิลปะการแสดง
สาขาศิลปะการแสดง
ในอำเภอแม่แจ่ม มีการแสดงจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะคนไทยวน อันเป็นกลุ่มวัฒนธรรมหลัก แม้ว่าประชากรหลักส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มปกาเกอญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) แต่วัฒนธรรมไทยวน ก็ยังคงสืบทอดกันมาอยู่ตลอด ควบคู่ไปกับศิลปวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่นของอำเภอแม่แจ่ม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง
การฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของคนไท-ยวน หรือเรียกว่า “ฟ้อนเมือง” หรือ “ฟ้อนครัวทาน” โดยมักจะเป็นการฟ้อนนำเครื่องไทยทานเข้าสู่วัด หรืออาจจะเป็นการฟ้อนต้อนรับแขกที่มาเยือน ซึ่งเป็นฟ้อนที่ได้รับแบบแผนมาจากส่วนราชสำนักล้านนา สู่ชาวบ้านในเมืองเชียงใหม่ และมาสู่เมืองแม่แจ่ม ซึ่งปัจจุบันมักจะเห็นในกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เป็นส่วนมาก ที่จะนำการแสดงชุดนี้ออกมาในงานบุญต่างๆ...