แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
แม่แจ่มเป็นอำเภอที่อยู่หลังดอยอินทนนท์ คล้ายกับเป็นปราการกั้นการรุกล้ำของวัฒนธรรมภายนอกให้เข้ามาได้ช้าลง ทำให้แม่แจ่ม ยังอุดมไปด้วยพิธีกรรม เทศกาลงานประเพณีอันเป็นรากฐานดั้งเดิมเอาไว้ได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยวน กะเหรี่ยง ลัวะ ล้วนแต่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทุกชาติพันธ์มีความสัมพันธ์กัน ล้วนแต่ต้องพึ่งพาอาศัยกันเสมอ เป็นพี่น้องบ้านบน-บ้านลุ่ม ตลอดถึงมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันอยู่ตลอด ฉะนั้นความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ จึงไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ปัญหามักมาจากผลกระทบทางระบบเกษตรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะปัญหาการใช้น้ำ ด้วยบางกลุ่มอยู่ต้นน้ำ บางกลุ่มอยู่หางน้ำ จึงมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ก็ไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ด้วยดี
นอกจากนี้ ประเพณีต่างๆ ล้วนแล้วแต่หมุนเวียนไปกับทางพระพุทธศาสนา และการเพาะปลูกเป็นสำคัญ ทั้งชาวไทยวน ปกาเกอญอ และลัวะ ดังสรุปมาให้เห็นเป็นดังนี้
ปฏิทินประเพณีต่างๆ ชุมชนของเมืองแม่แจ่ม
* ประเพณีเสาสะกาง จะกระทำในช่วงทุกๆ 15 ปี หรือตามแต่ที่กำหนดในช่วงฤดูแล้ง โดยใช้ควายตัวผู้ 1 ตัว และวัวตัวเมีย 1 ตัว ในการเลี้ยงบูชา ทุกคนต้องมาร่วมกันในประเพณีนี้ และหลังจากการเลี้ยงภายใน 3 ปี ห้ามผู้หญิงเอาสามีนอกบ้าน (สัมภาษณ์ นายอะดี เกตุรัตนสมบูรณ์, 2560)
ประเพณีที่ไม่ขึ้นกับช่วงเวลา
ประเพณีประจำอำเภอ เทศกาลมหกรรมผ้าตีนจกแม่แจ่ม