สาขาศิลปะการแสดง
ในอำเภอแม่แจ่ม มีการแสดงจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะคนไทยวน อันเป็นกลุ่มวัฒนธรรมหลัก แม้ว่าประชากรหลักส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มปกาเกอญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) แต่วัฒนธรรมไทยวน ก็ยังคงสืบทอดกันมาอยู่ตลอด ควบคู่ไปกับศิลปวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่นของอำเภอแม่แจ่ม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง
การฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของคนไท-ยวน หรือเรียกว่า “ฟ้อนเมือง” หรือ “ฟ้อนครัวทาน” โดยมักจะเป็นการฟ้อนนำเครื่องไทยทานเข้าสู่วัด หรืออาจจะเป็นการฟ้อนต้อนรับแขกที่มาเยือน ซึ่งเป็นฟ้อนที่ได้รับแบบแผนมาจากส่วนราชสำนักล้านนา สู่ชาวบ้านในเมืองเชียงใหม่ และมาสู่เมืองแม่แจ่ม ซึ่งปัจจุบันมักจะเห็นในกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เป็นส่วนมาก ที่จะนำการแสดงชุดนี้ออกมาในงานบุญต่างๆ หรือในงานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ดังตัวอย่างเช่นในงานจุลกฐิน วัดยางหลวง เป็นต้น

การแต่งกาย ก็จะนุ่งผ้าซิ่นตีนจกของแม่แจ่ม สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมมวยเหน็บดอกเอื้อง และสวมเล็บที่ทำจากทองเหลือง (บางทีอาจจะไม่สวมก็ได้)
การฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง
การฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของคนไท-ยวน หรือเรียกว่า “ฟ้อนเมือง” หรือ “ฟ้อนครัวทาน” โดยมักจะเป็นการฟ้อนนำเครื่องไทยทานเข้าสู่วัด หรืออาจจะเป็นการฟ้อนต้อนรับแขกที่มาเยือน ซึ่งเป็นฟ้อนที่ได้รับแบบแผนมาจากส่วนราชสำนักล้านนา สู่ชาวบ้านในเมืองเชียงใหม่ และมาสู่เมืองแม่แจ่ม ซึ่งปัจจุบันมักจะเห็นในกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เป็นส่วนมาก ที่จะนำการแสดงชุดนี้ออกมาในงานบุญต่างๆ หรือในงานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ดังตัวอย่างเช่นในงานจุลกฐิน วัดยางหลวง เป็นต้น

การแต่งกาย ก็จะนุ่งผ้าซิ่นตีนจกของแม่แจ่ม สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมมวยเหน็บดอกเอื้อง และสวมเล็บที่ทำจากทองเหลือง (บางทีอาจจะไม่สวมก็ได้)

การฟ้อนปีติ
การฟ้อนปีติ เป็นการฟ้อนที่ไม่มีแบบแผน ไม่มีท่วงท่าที่สวยงาม ไม่มีความพร้อมเพรียงกันระหว่างผู้ฟ้อน ไม่มีการจับคู่ตั้งแถวหรือขบวนใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการฟ้อนที่ออกมาจากจิตใจของผู้ฟ้อนเอง ขึ้นกับผู้ฟ้อนจะวาดลวดลายอย่างไร
เมื่อมีการงานบุญใด ที่ผู้ทำบุญมีความอิ่มเอมใจ มีความสุขที่เกิดจากการทำบุญ เมื่อได้ยินเสียงฆ้องเสียงกลอง ความปีติในบุญนั้นก็แผ่ซ่าน ออกมาในท่วงท่าของการฟ้อนรำ จะมีการก็ยกไม้ยกมือ สะบัดข้อมือตามจังหวะเท่านั้น พร้อมกับใบหน้าที่ประดับด้วยรอยยิ้มอันมีความสุขของผู้ฟ้อน

การฟ้อนปีติ
การฟ้อนปีติ เป็นการฟ้อนที่ไม่มีแบบแผน ไม่มีท่วงท่าที่สวยงาม ไม่มีความพร้อมเพรียงกันระหว่างผู้ฟ้อน ไม่มีการจับคู่ตั้งแถวหรือขบวนใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการฟ้อนที่ออกมาจากจิตใจของผู้ฟ้อนเอง ขึ้นกับผู้ฟ้อนจะวาดลวดลายอย่างไร
เมื่อมีการงานบุญใด ที่ผู้ทำบุญมีความอิ่มเอมใจ มีความสุขที่เกิดจากการทำบุญ เมื่อได้ยินเสียงฆ้องเสียงกลอง ความปีติในบุญนั้นก็แผ่ซ่าน ออกมาในท่วงท่าของการฟ้อนรำ จะมีการก็ยกไม้ยกมือ สะบัดข้อมือตามจังหวะเท่านั้น พร้อมกับใบหน้าที่ประดับด้วยรอยยิ้มอันมีความสุขของผู้ฟ้อน


การฟ้อนเก็บฝ้าย
เป็นการฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ โดยพัฒนามาจากรูปแบบของการจัดงานจุลกฐิน ที่จะต้องมีการเก็บฝ้าย โดยผู้เฒ่าผู้แก่ จะต้องทำพิธีในการเก็บฝ้าย ที่ปลูกและฝากไว้กับพระแม่ธรณีที่ฟูมฟักเลี้ยงดูต้นฝ้ายจนออกดอกออกผล เป็นฝ้ายให้เก็บ โดยตั้งพิธีบริเวณสวนฝ้าย โดยเด็กสาวลูกหลานบ้านนั้น นุ่งด้วยชุดขาว ฟ้อนนำขบวน ที่ประกอบไปด้วยดนตรีสะล้อ ซึง ไปสู่สวนฝ้าย
อันเป็นการพัฒนาการแสดงจากพื้นฐานการฟ้อนเมือง ไปสู่การประดิษฐ์ฟ้อนในพิธีกรรม เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของฝ้ายนั้น โดยสมมติว่าเป็นนางฟ้าเทวดาเป็นผู้นำฝ้ายมาสู่การถักทอเป็นผืนเพื่อถวายในงานบุญกฐิน

การฟ้อนเก็บฝ้าย
เป็นการฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ โดยพัฒนามาจากรูปแบบของการจัดงานจุลกฐิน ที่จะต้องมีการเก็บฝ้าย โดยผู้เฒ่าผู้แก่ จะต้องทำพิธีในการเก็บฝ้าย ที่ปลูกและฝากไว้กับพระแม่ธรณีที่ฟูมฟักเลี้ยงดูต้นฝ้ายจนออกดอกออกผล เป็นฝ้ายให้เก็บ โดยตั้งพิธีบริเวณสวนฝ้าย โดยเด็กสาวลูกหลานบ้านนั้น นุ่งด้วยชุดขาว ฟ้อนนำขบวน ที่ประกอบไปด้วยดนตรีสะล้อ ซึง ไปสู่สวนฝ้าย
อันเป็นการพัฒนาการแสดงจากพื้นฐานการฟ้อนเมือง ไปสู่การประดิษฐ์ฟ้อนในพิธีกรรม เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของฝ้ายนั้น โดยสมมติว่าเป็นนางฟ้าเทวดาเป็นผู้นำฝ้ายมาสู่การถักทอเป็นผืนเพื่อถวายในงานบุญกฐิน


การแสดงจิกริ หรือ ธิหว่า หรือการแสดงกระทบไม้
เป็นการแสดงของชาวพี่น้องปกาเกอญอ หรือกะเหรี่ยง อันคล้ายกับการแสดงของไทยที่เรียกว่า ลาวกระทบไม้ หรือการแสดงของล้านนาที่เรียกว่า ม้าจกคอก เพียงแต่การแสดงของกะเหรี่ยงนั้นเป็นการวางไม้กระทบกันทั้งสองแนว (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560)
เดิมใช้เล่นกันในงานศพเท่านั้น การที่นำจิกริมาละเล่นในงานรื่นเริง เริ่มจากทางรัฐกะเหรี่ยงของสหภาพเมียนมาได้เริ่มนำมาใช้ในการละเล่นปีใหม่ ต่อมาก็มีปรับเปลี่ยนข้ามมายังแม่แจ่ม เริ่มมีการนำมาใช้ละเล่นในงานรื่นเริง หรือเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ (สัมภาษณ์ นายอนันต์ สุขสันต์ฤทัย, 2560)
ต่อมามีการประยุกต์การแสดงเข้ากับการอื่อธา อันเป็นการขับบทกวีของชาวกะเหรี่ยง ที่เป็นเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติ วิถีชีวิต ทั่วไป ซึ่งอาจจะประกอบเครื่องดนตรีพื้นเมืองนั่นคือ “เตหน่า” หรืออาจจะใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วยเช่นกีตาร์ เป็นต้น
บางครั้งมีการพัฒนาประยุกต์การเล่นจิกริ กับการถักทอเส้นเชือก โดยมีการนำเชือกมาห้อยไว้ตรงกลาง ให้แต่ละคนถือปลายเชือกอีกด้าน เต้นไปตามจังหวะการกระทบไม้ แล้วให้นำเชือกไปถักทอเป็นลวดลาย จนสุดเชือก แล้วจึงถอยคืนเชือกนั้นให้กลับมาดังเดิมอีกครั้งหนึ่ง


การแสดงจิกริ หรือ ธิหว่า หรือการแสดงกระทบไม้
เป็นการแสดงของชาวพี่น้องปกาเกอญอ หรือกะเหรี่ยง อันคล้ายกับการแสดงของไทยที่เรียกว่า ลาวกระทบไม้ หรือการแสดงของล้านนาที่เรียกว่า ม้าจกคอก เพียงแต่การแสดงของกะเหรี่ยงนั้นเป็นการวางไม้กระทบกันทั้งสองแนว (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560)
เดิมใช้เล่นกันในงานศพเท่านั้น การที่นำจิกริมาละเล่นในงานรื่นเริง เริ่มจากทางรัฐกะเหรี่ยงของสหภาพเมียนมาได้เริ่มนำมาใช้ในการละเล่นปีใหม่ ต่อมาก็มีปรับเปลี่ยนข้ามมายังแม่แจ่ม เริ่มมีการนำมาใช้ละเล่นในงานรื่นเริง หรือเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ (สัมภาษณ์ นายอนันต์ สุขสันต์ฤทัย, 2560)
ต่อมามีการประยุกต์การแสดงเข้ากับการอื่อธา อันเป็นการขับบทกวีของชาวกะเหรี่ยง ที่เป็นเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติ วิถีชีวิต ทั่วไป ซึ่งอาจจะประกอบเครื่องดนตรีพื้นเมืองนั่นคือ “เตหน่า” หรืออาจจะใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วยเช่นกีตาร์ เป็นต้น
บางครั้งมีการพัฒนาประยุกต์การเล่นจิกริ กับการถักทอเส้นเชือก โดยมีการนำเชือกมาห้อยไว้ตรงกลาง ให้แต่ละคนถือปลายเชือกอีกด้าน เต้นไปตามจังหวะการกระทบไม้ แล้วให้นำเชือกไปถักทอเป็นลวดลาย จนสุดเชือก แล้วจึงถอยคืนเชือกนั้นให้กลับมาดังเดิมอีกครั้งหนึ่ง



การแสดงชือบือ หรือการแสดงตำข้าว
เป็นการการแสดงประดิษฐ์ใหม่ โดยนำเอาวัฒนธรรมการตำข้าวของชาวปกาเกอญอ อันสื่อถึงวิถีชีวิตประจำวันและการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ตั้งแต่เกี่ยวจนถึงมาตำเป็นเม็ดข้าวสำหรับการหุงต้มทำอาหาร นำมาเรียงร้อยในรูปแบบการแสดงโดย อาจารย์สิงหา แซ่ตึ้ง รร.สาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า มศว. แม่แจ่ม
การแสดงชุดนี้ สามารถใช้ในการแสดงบนเวที ใช้ในการต้อนรับแขกที่มาเยือนแล้ว ยังสามารถนำไปแสดงในขบวนต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมชาวปกาเกอญอให้เป็นที่รู้จัก เช่น การแสดงในขบวนแห่ผ้าตีนจกและผ้าชนเผ่า ของอำเภอแม่แจ่ม เป็นต้น

การแสดงชือบือ หรือการแสดงตำข้าว
เป็นการการแสดงประดิษฐ์ใหม่ โดยนำเอาวัฒนธรรมการตำข้าวของชาวปกาเกอญอ อันสื่อถึงวิถีชีวิตประจำวันและการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ตั้งแต่เกี่ยวจนถึงมาตำเป็นเม็ดข้าวสำหรับการหุงต้มทำอาหาร นำมาเรียงร้อยในรูปแบบการแสดงโดย อาจารย์สิงหา แซ่ตึ้ง รร.สาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า มศว. แม่แจ่ม
การแสดงชุดนี้ สามารถใช้ในการแสดงบนเวที ใช้ในการต้อนรับแขกที่มาเยือนแล้ว ยังสามารถนำไปแสดงในขบวนต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมชาวปกาเกอญอให้เป็นที่รู้จัก เช่น การแสดงในขบวนแห่ผ้าตีนจกและผ้าชนเผ่า ของอำเภอแม่แจ่ม เป็นต้น


การฟ้อนดาบ
การฟ้อนดาบ เป็นการนำเอาศิลปะการป้องกันตัว มาดัดแปลงในรูปแบบการฟ้อนให้ดูสวยงาม ใช้เป็นการแสดง แต่ก็แฝงความห้าวหาญ ใช้ป้องกันตัวได้ไปพร้อมกัน แต่ละท่วงท่าล้วนเป็นการรุก การรับในการต่อสู้ในลีลาอันสวยงาม
การฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิงนั้นติดตัวของ “ผู้ชาย” เป็นหลักในทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งไทยวน ลัวะ ปกาเกอญอ ม้ง ด้วยเป็นศิลปะป้องกันตัวในอดีต ที่ผู้ชายทุกคนต้องมีการสู้รับต่อศัตรูที่มารุกราน ปกป้องถิ่นฐาน ครอบครัว และชุมชน ต่อมาเมื่อบ้านเมืองสงบสุข ศิลปะการต่อสู้ก็ยังคงถ่ายทอดในกลุ่มคนที่สนใจต่อมา และลีลาการฟายฟ้อนด้วย

การฟ้อนดาบ
การฟ้อนดาบ เป็นการนำเอาศิลปะการป้องกันตัว มาดัดแปลงในรูปแบบการฟ้อนให้ดูสวยงาม ใช้เป็นการแสดง แต่ก็แฝงความห้าวหาญ ใช้ป้องกันตัวได้ไปพร้อมกัน แต่ละท่วงท่าล้วนเป็นการรุก การรับในการต่อสู้ในลีลาอันสวยงาม
การฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิงนั้นติดตัวของ “ผู้ชาย” เป็นหลักในทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งไทยวน ลัวะ ปกาเกอญอ ม้ง ด้วยเป็นศิลปะป้องกันตัวในอดีต ที่ผู้ชายทุกคนต้องมีการสู้รับต่อศัตรูที่มารุกราน ปกป้องถิ่นฐาน ครอบครัว และชุมชน ต่อมาเมื่อบ้านเมืองสงบสุข ศิลปะการต่อสู้ก็ยังคงถ่ายทอดในกลุ่มคนที่สนใจต่อมา และลีลาการฟายฟ้อนด้วย
