วรรณกรรมพื้นบ้าน
วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งขอแบ่งออกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ กับวรรณกรรมมุขปาฐะ
วรรณกรรมลายลักษณ์
ในเขตอำเภอแม่แจ่ม จะมีวรรณกรรมลายลักษณ์ที่จารจดไว้ด้วยอักษรธรรมล้านนา มีทั้งเป็นวรรณกรรมในพิธีกรรม และวรรณกรรมประโลมโลก

“คำล่องสังขาร”
วรรณกรรมในพิธีกรรม เป็นการที่ปราชญ์ในยุคก่อนได้เรียบเรียงแต่งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมหนึ่งๆ เช่น คำเรียกขวัญ คำล่องสังขารในประเพณีสงกรานต์เป็นต้น
ขอหยิบยกเอาคำล่องสังขาร ของพ่อเปี้ย เก่งการธรรม ได้ประกอบพิธีล่องสังขารในวันสังขานต์ล่อง ณ ริมฝั่งน้ำแม่แจ่ม คำล่องสังขารว่าไว้ดังนี้
“โภนโต เทวสังขาโย ดูราปู่สังขาร ย่าสังขาร บัดนี้หมายมี สัทธาผู้ข้าทังหลาย ค็บ่ละเสียยังรีตบ่ลีดเสียยังปาเวณีล่วงแล้ว ปางก่อนบ่ได้อย่อนเสียยังการ สัทธาผู้ข้าทังหลาย ค็ได้น้อมนำมายัง บุปผาลาชาดวงดอก เข้าตอกดอกไม้เทียนงาม กับทังน้ำสุคันโธทก คัมภิโรทกะ น้ำเข้าหมิ้นส้มป่อยใส่ขันนำมาถวาย สักการะปู่ชา มีทังผาลาพ้าวตาลกล้วยอ้อย ช่อน้อยทุงไชย ปักแพไพเปนถ้อยดูงาม เพื่อจักขอส่งเคราะห์และนามปีเก่าแลใหม่ เปนต้นว่า เคราะห์ปลีวันเดือนยาม เคราะห์รอนรามหมาดไหม้ไข้แรมตน ทังพายในแลพายนอก หนแห่งห้องพายในหมายมีจิตตอุหัสสภัย พายนอกหมายมีราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อัคคิภัย โลกันตรทุพภิกขภัย ต่างๆ นานา อย่าได้ฅ้างอยู่เหิงนาน ไพกับปู่สังขารย่าสังขารเสียในวันนี้ยามนี้ พ.ศ.นี้ เปนต้นไพพายหน้า ขอหื้อสัทธาผู้ข้าทังหลาย ได้พ้นจากเคราะห์ทังมวลชู่ผู้ชู่ฅนแท้ดีหลี ต่อนี้ไพพายหน้า ขอหื้อสัทธาผู้ข้าทังหลาย ได้รับโชคไชยลาภสการ จุ่งหื้อมีอายุปีเดือนวันยาม กะทำการงานอันใด ค็ขอสมริทธีทุกอย่าง หื้อได้ยุท่างกินแลทาน วัตถุบานชมชื่น หื้อได้เปนเจ้าเงินหมื่นเงินแสน แม่นกะทำนาค็หื้อได้เข้า มีลูกหลานค็สอนอยู่ถ้อยฟังคำ กะทำสวนแลไร่ จุ่งหื้อฝนดีทุกสิ่ง ฟ้าฝนตกดียิ่งตามระดูกาล ขอหื้อสัทธาผู้ข้าทังหลายได้อยู่ดี มีสุข อายุหมั้นยืนยาวได้ร้อยซาวพระวัสสา จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันตุ อายุวัณโณ สุขัง พลังฯ สัพพี ฯลฯ สุขังพะลัง”

“คำล่องสังขาร”
วรรณกรรมในพิธีกรรม เป็นการที่ปราชญ์ในยุคก่อนได้เรียบเรียงแต่งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมหนึ่งๆ เช่น คำเรียกขวัญ คำล่องสังขารในประเพณีสงกรานต์เป็นต้น
ขอหยิบยกเอาคำล่องสังขาร ของพ่อเปี้ย เก่งการธรรม ได้ประกอบพิธีล่องสังขารในวันสังขานต์ล่อง ณ ริมฝั่งน้ำแม่แจ่ม คำล่องสังขารว่าไว้ดังนี้
“โภนโต เทวสังขาโย ดูราปู่สังขาร ย่าสังขาร บัดนี้หมายมี สัทธาผู้ข้าทังหลาย ค็บ่ละเสียยังรีตบ่ลีดเสียยังปาเวณีล่วงแล้ว ปางก่อนบ่ได้อย่อนเสียยังการ สัทธาผู้ข้าทังหลาย ค็ได้น้อมนำมายัง บุปผาลาชาดวงดอก เข้าตอกดอกไม้เทียนงาม กับทังน้ำสุคันโธทก คัมภิโรทกะ น้ำเข้าหมิ้นส้มป่อยใส่ขันนำมาถวาย สักการะปู่ชา มีทังผาลาพ้าวตาลกล้วยอ้อย ช่อน้อยทุงไชย ปักแพไพเปนถ้อยดูงาม เพื่อจักขอส่งเคราะห์และนามปีเก่าแลใหม่ เปนต้นว่า เคราะห์ปลีวันเดือนยาม เคราะห์รอนรามหมาดไหม้ไข้แรมตน ทังพายในแลพายนอก หนแห่งห้องพายในหมายมีจิตตอุหัสสภัย พายนอกหมายมีราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อัคคิภัย โลกันตรทุพภิกขภัย ต่างๆ นานา อย่าได้ฅ้างอยู่เหิงนาน ไพกับปู่สังขารย่าสังขารเสียในวันนี้ยามนี้ พ.ศ.นี้ เปนต้นไพพายหน้า ขอหื้อสัทธาผู้ข้าทังหลาย ได้พ้นจากเคราะห์ทังมวลชู่ผู้ชู่ฅนแท้ดีหลี ต่อนี้ไพพายหน้า ขอหื้อสัทธาผู้ข้าทังหลาย ได้รับโชคไชยลาภสการ จุ่งหื้อมีอายุปีเดือนวันยาม กะทำการงานอันใด ค็ขอสมริทธีทุกอย่าง หื้อได้ยุท่างกินแลทาน วัตถุบานชมชื่น หื้อได้เปนเจ้าเงินหมื่นเงินแสน แม่นกะทำนาค็หื้อได้เข้า มีลูกหลานค็สอนอยู่ถ้อยฟังคำ กะทำสวนแลไร่ จุ่งหื้อฝนดีทุกสิ่ง ฟ้าฝนตกดียิ่งตามระดูกาล ขอหื้อสัทธาผู้ข้าทังหลายได้อยู่ดี มีสุข อายุหมั้นยืนยาวได้ร้อยซาวพระวัสสา จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันตุ อายุวัณโณ สุขัง พลังฯ สัพพี ฯลฯ สุขังพะลัง”


“เพลงสวนหอมและสวนกะหล่ำ”
นอกจากนี้ยังมีบทซอทำนองอื่อที่แต่งขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในวิถีชีวิตของชาวแม่แจ่ม ที่มีการปลูกหอมขาวหอมแดง และกะหล่ำปลีกันอย่างมาก พ่ออิ่นคำ นิปุนะ ได้แต่งบทซอในทำนองเพลงอื่อ โดยให้ชื่อว่า “เพลงสวนหอมและสวนกะหล่ำ” ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้
“ค่อยฟัง ยังก่อนเต๊อะนาย ข้าจักบรรยาย เป็นอย่าง
อันเรื่องสวนหอม และสวนกะหล่ำ มันมีกู้บ้าน กู้จอง
ตังบ้านฝาย ทับไร่ เปิ้นก็เขือกกั๋น จ้าดหลาย
ปอบ่มีตี้เลี้ยงงัว เลี้ยงควาย โต้งนาปอบ่าว่าง บ่เปล่า
เขาจ้วยกั๋นตึงยิง ตึงจาย บ่ว่าคนหนุ่ม คนเฒ่า
เขาเขือกกั๋นหลับดึก ลุกเจ๊า เสียกู้บ้าน กู้จอง
เพราะเขาจะได้เงิน มากมาก บางคนปอเอาแขนมาหนุน ต๋างหมอน
ถ้าลุกจาก ตี้นอน ก็เป๊อะโบโด ออกโต้ง
ปอถึงแปดโมง เก้าโมง ลูกเมียเขาเอาเข้า ไปส่ง
เข้าตอนเข้างาน กิ๋นยังก๋างโต้ง ยังบ้านกิ๋นก่า เข้าแลง
ธรรมดาเปิ้นยะนา ปลูกเข้า เขาเอาไปปลูกเต้า ปลูกแต๋ง
เพราะเขาคิดถึงใบเขียว ใบแดง เข้าสารก็แปง เสี้ยงอย่าง
กระสอบหนึ่งตกอยู่ ปันป๋าย มันตึงบ่ยอม ลงต่ำ
เสียทีเขาขาย กะหล่ำ กิโลห้าสิบ สตางค์
บ่ขายก็รอตึง บ่ได้ เพราะบ่มีสังกิ๋น สังสรรค์
เข้าไปผ่อตี้ไว้ เข้าสาร ก็เหลือแต่ปี๊บ เปล่าเปล่า
ออกไปกล๋างโต้ง กล๋างนา ก็หันแต่ป่ายา กับป่าถั่วเน่า
คนบ่าเดี่ยวบ่ค่อย ปลูกเข้า ปลูกก้าหอมแดงหอมขาว ตึงมวล
พอถึงเดือนสาม เดือนสี่ เปิ้นได้หาบเข้าใส่เล้า ใส่หลอง
ข้าไปหันบ้านปู่แก้ว ย่าฟอง มีหลองบ่มี เข้าใส่
อำเภอแม่แจ่มมันมีหลาย ตำบล เขาก็นิยมปลูกหอม ผับค่วย
เขาเอานาปลูกเข้าคนไฮ่ สองไฮ่ มอกได้กิ๋นไป พลางพลาง
ถ้าเขาขายหอมเอาเงินไป ซื้อเข้า ผดแผวเมืองป๊าว เมืองฝาง
จ๋นได้เสี้ยงค่ารถ ค่าราง ก็ปิ๊กขึ้น ป๋างเปล่า
บางคนบ่ยอม คืนหลัง ผดแผวแม่ขะจานยังแผวเวียง ป่าเป้า
ป๊กเอาเงินไปเซาะ ซื้อเข้า ผดแผวแม่สาย แม่จัน
เซาะซื้อไหนก็บ่ได้ หนอเฮา ผดแผวพะเยาลายบ่ เป็นก๋าร
บ่ได้เข้าเปลือกว่าจะซื้อ เข้าสาร เสียหมู่แม่มานบ่ได้ กิ๋นแกลบ
ผ่อเขาล่นโตย สมัย เอาหลังออกไป ตากแดด
บางคนฮ้อนหัวปอ จะแตก แข่งกั๋นตึงจาย ตึงญิง
ผ่อเขาทำงาน เหื่อออก ผ่อหลังเหลื้อมเหมือนหลัง งูสิง
ผ่อเขาแข่งกั๋น บกดิน ขี้ก็จ๋นปอ บ่นั่ง
บางคนก็บกบางคน ก็ไถ ข้าไปหันเขายะสวน กะหล่ำ
ยะมาหน้าเป็นฟ้าว เป็นฟั่ง แข่งกั๋นตึงยาง ตึงไต
ถ้าบกสวนกะหล่ำ เขาแล้ว เขาก็เอากั๋นไปขึ้น แปลงหอม
บางคนจ๋นปอด้อง ปอผอม ก็เหลือแต่หนัง ห่อดูก…”
ฯลฯ

“เพลงสวนหอมและสวนกะหล่ำ”
นอกจากนี้ยังมีบทซอทำนองอื่อที่แต่งขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในวิถีชีวิตของชาวแม่แจ่ม ที่มีการปลูกหอมขาวหอมแดง และกะหล่ำปลีกันอย่างมาก พ่ออิ่นคำ นิปุนะ ได้แต่งบทซอในทำนองเพลงอื่อ โดยให้ชื่อว่า “เพลงสวนหอมและสวนกะหล่ำ” ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้
“ค่อยฟัง ยังก่อนเต๊อะนาย ข้าจักบรรยาย เป็นอย่าง
อันเรื่องสวนหอม และสวนกะหล่ำ มันมีกู้บ้าน กู้จอง
ตังบ้านฝาย ทับไร่ เปิ้นก็เขือกกั๋น จ้าดหลาย
ปอบ่มีตี้เลี้ยงงัว เลี้ยงควาย โต้งนาปอบ่าว่าง บ่เปล่า
เขาจ้วยกั๋นตึงยิง ตึงจาย บ่ว่าคนหนุ่ม คนเฒ่า
เขาเขือกกั๋นหลับดึก ลุกเจ๊า เสียกู้บ้าน กู้จอง
เพราะเขาจะได้เงิน มากมาก บางคนปอเอาแขนมาหนุน ต๋างหมอน
ถ้าลุกจาก ตี้นอน ก็เป๊อะโบโด ออกโต้ง
ปอถึงแปดโมง เก้าโมง ลูกเมียเขาเอาเข้า ไปส่ง
เข้าตอนเข้างาน กิ๋นยังก๋างโต้ง ยังบ้านกิ๋นก่า เข้าแลง
ธรรมดาเปิ้นยะนา ปลูกเข้า เขาเอาไปปลูกเต้า ปลูกแต๋ง
เพราะเขาคิดถึงใบเขียว ใบแดง เข้าสารก็แปง เสี้ยงอย่าง
กระสอบหนึ่งตกอยู่ ปันป๋าย มันตึงบ่ยอม ลงต่ำ
เสียทีเขาขาย กะหล่ำ กิโลห้าสิบ สตางค์
บ่ขายก็รอตึง บ่ได้ เพราะบ่มีสังกิ๋น สังสรรค์
เข้าไปผ่อตี้ไว้ เข้าสาร ก็เหลือแต่ปี๊บ เปล่าเปล่า
ออกไปกล๋างโต้ง กล๋างนา ก็หันแต่ป่ายา กับป่าถั่วเน่า
คนบ่าเดี่ยวบ่ค่อย ปลูกเข้า ปลูกก้าหอมแดงหอมขาว ตึงมวล
พอถึงเดือนสาม เดือนสี่ เปิ้นได้หาบเข้าใส่เล้า ใส่หลอง
ข้าไปหันบ้านปู่แก้ว ย่าฟอง มีหลองบ่มี เข้าใส่
อำเภอแม่แจ่มมันมีหลาย ตำบล เขาก็นิยมปลูกหอม ผับค่วย
เขาเอานาปลูกเข้าคนไฮ่ สองไฮ่ มอกได้กิ๋นไป พลางพลาง
ถ้าเขาขายหอมเอาเงินไป ซื้อเข้า ผดแผวเมืองป๊าว เมืองฝาง
จ๋นได้เสี้ยงค่ารถ ค่าราง ก็ปิ๊กขึ้น ป๋างเปล่า
บางคนบ่ยอม คืนหลัง ผดแผวแม่ขะจานยังแผวเวียง ป่าเป้า
ป๊กเอาเงินไปเซาะ ซื้อเข้า ผดแผวแม่สาย แม่จัน
เซาะซื้อไหนก็บ่ได้ หนอเฮา ผดแผวพะเยาลายบ่ เป็นก๋าร
บ่ได้เข้าเปลือกว่าจะซื้อ เข้าสาร เสียหมู่แม่มานบ่ได้ กิ๋นแกลบ
ผ่อเขาล่นโตย สมัย เอาหลังออกไป ตากแดด
บางคนฮ้อนหัวปอ จะแตก แข่งกั๋นตึงจาย ตึงญิง
ผ่อเขาทำงาน เหื่อออก ผ่อหลังเหลื้อมเหมือนหลัง งูสิง
ผ่อเขาแข่งกั๋น บกดิน ขี้ก็จ๋นปอ บ่นั่ง
บางคนก็บกบางคน ก็ไถ ข้าไปหันเขายะสวน กะหล่ำ
ยะมาหน้าเป็นฟ้าว เป็นฟั่ง แข่งกั๋นตึงยาง ตึงไต
ถ้าบกสวนกะหล่ำ เขาแล้ว เขาก็เอากั๋นไปขึ้น แปลงหอม
บางคนจ๋นปอด้อง ปอผอม ก็เหลือแต่หนัง ห่อดูก…”
ฯลฯ


“ซอสี่บาท”
ซอสี่บาทเป็นซอที่เล่าเรื่องในเมืองแม่แจ่ม ครั้งเก็บภาษี 4 บาทในช่วงพ.ศ. 2478 – 2480 จากบอกซอของพ่อแก้ว ธะนะโกฏิ บ้านกองกาน ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง ของอำเภอแม่แจ่ม โดยขอยกตัวอย่างมาพอให้เห็นดังนี้
“ค่อยฟังเต๊อะเจ้า เต๊อะนาย ข้าจักไขนิยาย ตุ๊กข์ยาก
ป๋างเมื่อเจ้าเหนือหัวท่านเก็บเงิน 4 บาท หล้างพ่องก็ตุ๊กข์ยาก เต็มที
พ่องเข้าจะกิ๋น โตยน้ำ ก็จักดา บ่มี
กอยบ่าคำมูนกับ บ่าคำมี ผ้าต้อยจะดา บ่ได้นุ่ง
จับใส่ บางคน ปอบ่หนาหลับนอน คืนฮุ่ง
ฝนก็แข้ง ตกจุ้ม เหมยก็ซ้ำมา ตกซอน
กอนเดิ๊กมาก็ แล่งน้อย น้ำก็มาย้อย ตี๋นก๋อน
ผ่อดูเสื้อผ้า ตี้นอน ตี้ไหนมันก็แข้ง ปุดขาด
หล้างพ่องก็ตุ๊กข์ยาก เหลือเกิ๋น บ่มีเงินออก 4 บาท
ผ้าเสื้อ ปุดขาด ปอบ่หนานุ่งหย้อง ลองคิง
9 ผาน 10 ตุ๊กข์ ขะแนมว่าเข้า ปอกิ๋น
แต๋มว่าห้องเหมือน จะบิน ปี้น้องบ้านเมือง บ่อวด
กอนหันเสมียน ศาลสูง บ่ว่ากำนัน ต๋ำหนวด
เปื้อนตึงจัก มากวด บ่ว่าคนนึ่ง คนใด
พ.ศ.สองพัน เจ็ดแปด เขาตึงบ่ไว้ หน้าใผ
เขาก็เก็บ เรื่อยไป แผว พ.ศ. เจ็ดเก้า
ปี๋หน้าจะไป เมืองพาน ไปตี้เข้าหนา ปล๋าถูก
จะปาเอาหลาน เอาลูก หนีออกบ้าน เมืองไป
อยู่เจียงใหม่ โหล่งแก้ว สังมาตุ๊กข์อก ตุ๊กข์ใจ๋
กอนว่าค้าขาย อันใด มันสังเล้ามา ดูยาก
หล้างพ่องเขามี สตางค์ บ่ว่าสลึง เกิ่งบาท
หันเขาเอาไป จ่ายกาด แล้วบ่หันปิ๊ก คืนมา
บึดมันก็ไป ซื้อพริก บึดมันก็ไป ซื้อปล๋า
บ่ว่าหมากเหมี้ยง ปลูยา อันใดมันก็ซื้อ ทุกสิ่ง…”
ฯลฯ
“ซอสี่บาท”
ซอสี่บาทเป็นซอที่เล่าเรื่องในเมืองแม่แจ่ม ครั้งเก็บภาษี 4 บาทในช่วงพ.ศ. 2478 – 2480 จากบอกซอของพ่อแก้ว ธะนะโกฏิ บ้านกองกาน ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง ของอำเภอแม่แจ่ม โดยขอยกตัวอย่างมาพอให้เห็นดังนี้
“ค่อยฟังเต๊อะเจ้า เต๊อะนาย ข้าจักไขนิยาย ตุ๊กข์ยาก
ป๋างเมื่อเจ้าเหนือหัวท่านเก็บเงิน 4 บาท หล้างพ่องก็ตุ๊กข์ยาก เต็มที
พ่องเข้าจะกิ๋น โตยน้ำ ก็จักดา บ่มี
กอยบ่าคำมูนกับ บ่าคำมี ผ้าต้อยจะดา บ่ได้นุ่ง
จับใส่ บางคน ปอบ่หนาหลับนอน คืนฮุ่ง
ฝนก็แข้ง ตกจุ้ม เหมยก็ซ้ำมา ตกซอน
กอนเดิ๊กมาก็ แล่งน้อย น้ำก็มาย้อย ตี๋นก๋อน
ผ่อดูเสื้อผ้า ตี้นอน ตี้ไหนมันก็แข้ง ปุดขาด
หล้างพ่องก็ตุ๊กข์ยาก เหลือเกิ๋น บ่มีเงินออก 4 บาท
ผ้าเสื้อ ปุดขาด ปอบ่หนานุ่งหย้อง ลองคิง
9 ผาน 10 ตุ๊กข์ ขะแนมว่าเข้า ปอกิ๋น
แต๋มว่าห้องเหมือน จะบิน ปี้น้องบ้านเมือง บ่อวด
กอนหันเสมียน ศาลสูง บ่ว่ากำนัน ต๋ำหนวด
เปื้อนตึงจัก มากวด บ่ว่าคนนึ่ง คนใด
พ.ศ.สองพัน เจ็ดแปด เขาตึงบ่ไว้ หน้าใผ
เขาก็เก็บ เรื่อยไป แผว พ.ศ. เจ็ดเก้า
ปี๋หน้าจะไป เมืองพาน ไปตี้เข้าหนา ปล๋าถูก
จะปาเอาหลาน เอาลูก หนีออกบ้าน เมืองไป
อยู่เจียงใหม่ โหล่งแก้ว สังมาตุ๊กข์อก ตุ๊กข์ใจ๋
กอนว่าค้าขาย อันใด มันสังเล้ามา ดูยาก
หล้างพ่องเขามี สตางค์ บ่ว่าสลึง เกิ่งบาท
หันเขาเอาไป จ่ายกาด แล้วบ่หันปิ๊ก คืนมา
บึดมันก็ไป ซื้อพริก บึดมันก็ไป ซื้อปล๋า
บ่ว่าหมากเหมี้ยง ปลูยา อันใดมันก็ซื้อ ทุกสิ่ง…”
ฯลฯ
วรรณกรรมมุขปาฐะ
เป็นวรรณกรรมที่เกิดจากการเล่าต่อกันมา หรือเปิดจากปฏิภาณไหวพริบโต้ตอบกัน บางเรื่อง อาจจะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง วรรณกรรมมุขปาฐะ บางครั้งเป็นเรื่องเล่าอธิบายเหตุการณ์ หรือสถานที่ โดยจะขอหยิบยกมาเป็นบางเรื่องดังนี้

“ตำนานช่างเคิ่ง”
ในเมืองแม่แจ่ม มีห้วยช่างเคิ่งที่แบ่งเมืองแม่แจ่มออกเป็น เหนือ และใต้ โดยเรื่องเล่านี้ เล่ากันมากว่า แม่แจ่มแต่เดิมเป็นที่อยู่ของสิงห์สองตัว แต่ไม่ถูกกัน และจะทะเลาะกันเป็นประจำ จนเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองนี้ จึงได้ขีดร่องแบ่งครึ่งเมือง ให้สิงห์ทั้งสองตัวปกครองในเขตแดนของตน แนวรอยที่ขีด แบ่งครึ่งเมืองนี้ กลายเป็นลำห้วย ชื่อว่า “ช่างเคิ่ง” โดยการแบ่งครึ่งเมืองให้สิงห์สองตัวนั้นเอง
“ตำนานช่างเคิ่ง”
ในเมืองแม่แจ่ม มีห้วยช่างเคิ่งที่แบ่งเมืองแม่แจ่มออกเป็น เหนือ และใต้ โดยเรื่องเล่านี้ เล่ากันมากว่า แม่แจ่มแต่เดิมเป็นที่อยู่ของสิงห์สองตัว แต่ไม่ถูกกัน และจะทะเลาะกันเป็นประจำ จนเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองนี้ จึงได้ขีดร่องแบ่งครึ่งเมือง ให้สิงห์ทั้งสองตัวปกครองในเขตแดนของตน แนวรอยที่ขีด แบ่งครึ่งเมืองนี้ กลายเป็นลำห้วย ชื่อว่า “ช่างเคิ่ง” โดยการแบ่งครึ่งเมืองให้สิงห์สองตัวนั้นเอง

“ตำนานดอยด้วน”
ดอยด้วนเป็นดอยที่ทอดยาวมาจากบ้านผานัง มาด้วนหรือมาสุดที่บ้านห้วยไห – ไหล่หิน ลงไปยังวัดป่าแดด เป็นพื้นที่ที่เชื่อว่ามียาอยู่มาก ต้นไม้ต้นตอกมีฤทธิ์ทางยาแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “จี๋ดอยด้วน” และ “เก้าข้า”
จี๋ดอยด้วน เป็นพืชสมุนไพรลำต้นไม่สูง ใบแข็งขนาดเท่าฝ่ามือสีเขียว มียางสีขาว ส่วนต้นเก้าข้า นั้นเป็นไม้ยืนต้น เวลาท้องเสียก็จะไปถากเอาเปลือกของต้นเก้าข้ามาต้มกิน ก็จะหาย ส่วนสมุนไพรอื่นๆที่ดอยด้วนแห่งนี้ ที่มีก็เช่น เฒ่านั่งคุ่ม, ขี้เปี้ยจ้างฟ้อน, หัวบ่าเหน้ว เป็นต้น ซึ่งการไปขอสมุนไพร ก็จะต้องนำควักหรือกระทงไปขอจากดอยด้วนนี้ หรือให้แม่หม้ายไปเก็บยา ซึ่งจะเก็บต้นไม้ใบหญ้าอะไรก็ได้ ซึ่งทุกชนิดเป็นยาทั้งหมด ไปต้มให้เด็กที่ไม่สบาย
ที่มาของจี๋ดอยด้วน เล่ากันมาว่า ท้าวปรัมเหียร ไปเล่นชู้กับเมียของพระอินทร์ และพระอินทร์ก็ยิงศรต้องถูกพระญาปรัมเหียร พระญาปรัมเหียรก็ใช้ให้ “หอระมาน” ไปเอายา “จี๋ดอยด้วน” และ “เก้าข้า” ที่ดอยด้วนเมืองหยองห้วย ซึ่งหอระมานไปหาแล้วเรียกอย่างไรก็ไม่เห็นตัว ได้ยินแต่เสียง เลยใช้หางพันดอยทั้งหมด ยกมาไว้ที่แม่แจ่ม จึงกลายเป็นดอยด้วนที่เห็นในทุกวันนี้ (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
“ตำนานดอยด้วน”
ดอยด้วนเป็นดอยที่ทอดยาวมาจากบ้านผานัง มาด้วนหรือมาสุดที่บ้านห้วยไห – ไหล่หิน ลงไปยังวัดป่าแดด เป็นพื้นที่ที่เชื่อว่ามียาอยู่มาก ต้นไม้ต้นตอกมีฤทธิ์ทางยาแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “จี๋ดอยด้วน” และ “เก้าข้า”
จี๋ดอยด้วน เป็นพืชสมุนไพรลำต้นไม่สูง ใบแข็งขนาดเท่าฝ่ามือสีเขียว มียางสีขาว ส่วนต้นเก้าข้า นั้นเป็นไม้ยืนต้น เวลาท้องเสียก็จะไปถากเอาเปลือกของต้นเก้าข้ามาต้มกิน ก็จะหาย ส่วนสมุนไพรอื่นๆที่ดอยด้วนแห่งนี้ ที่มีก็เช่น เฒ่านั่งคุ่ม, ขี้เปี้ยจ้างฟ้อน, หัวบ่าเหน้ว เป็นต้น ซึ่งการไปขอสมุนไพร ก็จะต้องนำควักหรือกระทงไปขอจากดอยด้วนนี้ หรือให้แม่หม้ายไปเก็บยา ซึ่งจะเก็บต้นไม้ใบหญ้าอะไรก็ได้ ซึ่งทุกชนิดเป็นยาทั้งหมด ไปต้มให้เด็กที่ไม่สบาย
ที่มาของจี๋ดอยด้วน เล่ากันมาว่า ท้าวปรัมเหียร ไปเล่นชู้กับเมียของพระอินทร์ และพระอินทร์ก็ยิงศรต้องถูกพระญาปรัมเหียร พระญาปรัมเหียรก็ใช้ให้ “หอระมาน” ไปเอายา “จี๋ดอยด้วน” และ “เก้าข้า” ที่ดอยด้วนเมืองหยองห้วย ซึ่งหอระมานไปหาแล้วเรียกอย่างไรก็ไม่เห็นตัว ได้ยินแต่เสียง เลยใช้หางพันดอยทั้งหมด ยกมาไว้ที่แม่แจ่ม จึงกลายเป็นดอยด้วนที่เห็นในทุกวันนี้ (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)

“ดอยอินทนนท์คราง”
ดอยอินทนนท์ หรือดอยอ่างกาหลวง เล่ากันมาว่าที่หนองน้ำบนดอยนี้ มีพระญานาคอาศัยอยู่ ในช่วงก่อนฝนตกหัวปี มักจะได้ยินเสียงคล้ายกับเสียงฟ้าร้อง ดังสะเทือนเลื่อนลั่น ชาวบ้านเรียกว่า “ดอยคราง” อันเป็นเสียงการเสียดสีของตัวพระญานาคกับดอยนั่นเอง ปกติจะได้ยินทุกปี ปีละ 3 ถึง 4 ครั้ง เสียงนี้ดังไปถึงฝั่งตะวันตกน้ำคงหรือสาละวิน คนแม่แจ่มที่ไปรับจ้างทำงานที่ย่างกุ้งก็ดี เมาะละแหม่งก็ดี ก็จะได้ยินเสียงนี้ด้วย
ตั้งแต่มีถนนขึ้นสู่ดอยอินทนนท์ ก็ไม่ได้ยินเสียงดอยอินทนนท์ครางอีกเลย ว่ากันว่า พระญานาคได้หนีจากหนองน้ำไปแล้ว (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
“ดอยอินทนนท์คราง”
ดอยอินทนนท์ หรือดอยอ่างกาหลวง เล่ากันมาว่าที่หนองน้ำบนดอยนี้ มีพระญานาคอาศัยอยู่ ในช่วงก่อนฝนตกหัวปี มักจะได้ยินเสียงคล้ายกับเสียงฟ้าร้อง ดังสะเทือนเลื่อนลั่น ชาวบ้านเรียกว่า “ดอยคราง” อันเป็นเสียงการเสียดสีของตัวพระญานาคกับดอยนั่นเอง ปกติจะได้ยินทุกปี ปีละ 3 ถึง 4 ครั้ง เสียงนี้ดังไปถึงฝั่งตะวันตกน้ำคงหรือสาละวิน คนแม่แจ่มที่ไปรับจ้างทำงานที่ย่างกุ้งก็ดี เมาะละแหม่งก็ดี ก็จะได้ยินเสียงนี้ด้วย
ตั้งแต่มีถนนขึ้นสู่ดอยอินทนนท์ ก็ไม่ได้ยินเสียงดอยอินทนนท์ครางอีกเลย ว่ากันว่า พระญานาคได้หนีจากหนองน้ำไปแล้ว (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)

“หนองน้ำบนดอย”
หนองน้ำบนดอยอินทนนท์ อยู่เลยเรดาห์ไปไม่ไกล ชาวแข่หรือชาวม้งไปเห็นแล้วนำมาเล่าต่อกันว่า หนองน้ำบนดอยนี้ มีดอกกุหลาบพันปี ต้นหนึ่งมี 7 สี แต่ไม่สามารถเด็ดได้ หากเด็ด ก็จะหลงทางอยู่บนดอย หรือมีอ้อยเล่มเท่าน่อง ซึ่งอ้อยนี้สามารถตัดกินที่นั่นได้ แต่ห้ามตัดนำกลับมา ก็จะหลงทางเช่นเดียวกัน
ส่วนหนองน้ำนั้น จะมีมุมอยู่บางมุมที่สัตว์สามารถลงไปกินได้ คือ มุมที่ไปกินแล้วจะเป็นดี , มุมที่กินแล้วจะอายุยืน ส่วนอีกสองมุมที่แม้แต่สัตว์ก็ไม่ลงไปกิน นั้นคือ มุมที่กินแล้วตาย และมุมที่กินแล้วฉิบหาย (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
“หนองน้ำบนดอย”
หนองน้ำบนดอยอินทนนท์ อยู่เลยเรดาห์ไปไม่ไกล ชาวแข่หรือชาวม้งไปเห็นแล้วนำมาเล่าต่อกันว่า หนองน้ำบนดอยนี้ มีดอกกุหลาบพันปี ต้นหนึ่งมี 7 สี แต่ไม่สามารถเด็ดได้ หากเด็ด ก็จะหลงทางอยู่บนดอย หรือมีอ้อยเล่มเท่าน่อง ซึ่งอ้อยนี้สามารถตัดกินที่นั่นได้ แต่ห้ามตัดนำกลับมา ก็จะหลงทางเช่นเดียวกัน
ส่วนหนองน้ำนั้น จะมีมุมอยู่บางมุมที่สัตว์สามารถลงไปกินได้ คือ มุมที่ไปกินแล้วจะเป็นดี , มุมที่กินแล้วจะอายุยืน ส่วนอีกสองมุมที่แม้แต่สัตว์ก็ไม่ลงไปกิน นั้นคือ มุมที่กินแล้วตาย และมุมที่กินแล้วฉิบหาย (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)

“ผีดอยหลวง”
ดอยหลวงในที่นี้ หมายถึงดอยหลวงอินทนนท์ เรื่องเล่าผีดอยหลวงมีหลายเรื่อง ลักษณะผีดอยหลวงนี้มีลักษณะรูปร่างคล้ายคน และมีจะมาขอเกลือจากพ่อค้าวัวต่างอยู่เนืองๆ และบางครั้งก็ออกมาในรูปขบวนวัวต่าง ปลอมอยู่กับคน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่อีกคาราวาน มายืมหม้อทองเหลืองที่มีก้อนแหลม ไปต้มข้าว (บ้างก็ว่าเป็นหม้อนึ่ง) เมื่อจะออกเดือนทางไปถึงทางแยก ชาวแม่แจ่มจะลงไปยังแม่แจ่ม ส่วนอีกคาราวานแยกไปทางดอยหลวง เมื่อแยกกันไปแล้วนั้น พ่อค้าวัวต่างของแม่แจ่มนึกขึ้นได้ว่า อีกกลุ่มหนึ่งยังไม่ได้คืนหม้อที่ยืมไป จึงวิ่งตามไปเพื่อที่จะทวงหม้อคืน ปรากฎว่า กลุ่มที่ยืมหม้อไปนั้น กลับคือสภาพเป็นผีดิบไปแล้ว โดยบิดตาตั้งขึ้น ไม่เหมือนกับชาวบ้านทั่วไป จึงรู้ได้ว่า นั่นเป็นผีดอยหลวง (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560 และ พ่ออิ่นคำ นิปุนะ, 2560)

ผีดอยหลวง มักมาขโมยของชาวแม่แจ่มอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งมาขโมยวัวของชาวบ้านห้วยริน ไปถึง 20 ตัว ซึ่งวัวเหล่านั้นได้แขวนฮอกหรือกระดึงเหล็กเอาไว้ เมื่อชาวบ้านตามไป ก็เห็นรอยน้ำขุ่นของวัวที่เพิ่งผ่านไป รวมถึงได้ยินเสียงกระดึง อยู่ไม่ไกล แต่มองไม่เห็นวัวทั้งฝูง นอกจากว่าจะมาขโมยวัวแล้ว มักจะมาขโมยข้าวที่อยู่ในนาด้วย และจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเอาข้าวมาใส่ยุ้งแล้ว ปีไหนที่ได้ข้าวน้อยกว่าทุกปี แสดงว่าปีนั้น ผีดอยหลวงมาขโมยเอาไป และมักจะประมาณ 3 ปีไหน จะมาขโมยเสียทีหนึ่ง ซึ่งการที่ผีดอยหลวงมาขโมยเอานี้ มีที่นั่งม้าขี่ หรือร่างทรงมาบอกว่า “ตู๋มาเอาเข้า” ซึ่งก็หมายถึงผีดอยหลวง และผีดอยหลวงมีหอผีอยู่บริเวณวัดเหล่าป่าตาล บ้านแม่ปาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ดอยหลวง (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
นอกจากนี้สมัยก่อน การที่จะนุ่งซิ่นกะเหรี่ยงสีแดง เสื้อสีดางไปดอยหลวง ไม่ได้โดยเด็ดขาด หาไม่จะไม่สบาย อย่างมากถึงตาย ถ้าหากไม่ตายก็ป่วยหนัก การแก้ไข ก็จะต้องเอาวัว ที่ “กีบเผิ้งหางไหม” คือวัวที่มีกีบเท้าและขนหางมีสีเหลืองไปเลี้ยง 1 ตัว ถึงจะหาย (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
“ผีดอยหลวง”
ดอยหลวงในที่นี้ หมายถึงดอยหลวงอินทนนท์ เรื่องเล่าผีดอยหลวงมีหลายเรื่อง ลักษณะผีดอยหลวงนี้มีลักษณะรูปร่างคล้ายคน และมีจะมาขอเกลือจากพ่อค้าวัวต่างอยู่เนืองๆ และบางครั้งก็ออกมาในรูปขบวนวัวต่าง ปลอมอยู่กับคน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่อีกคาราวาน มายืมหม้อทองเหลืองที่มีก้อนแหลม ไปต้มข้าว (บ้างก็ว่าเป็นหม้อนึ่ง) เมื่อจะออกเดือนทางไปถึงทางแยก ชาวแม่แจ่มจะลงไปยังแม่แจ่ม ส่วนอีกคาราวานแยกไปทางดอยหลวง เมื่อแยกกันไปแล้วนั้น พ่อค้าวัวต่างของแม่แจ่มนึกขึ้นได้ว่า อีกกลุ่มหนึ่งยังไม่ได้คืนหม้อที่ยืมไป จึงวิ่งตามไปเพื่อที่จะทวงหม้อคืน ปรากฎว่า กลุ่มที่ยืมหม้อไปนั้น กลับคือสภาพเป็นผีดิบไปแล้ว โดยบิดตาตั้งขึ้น ไม่เหมือนกับชาวบ้านทั่วไป จึงรู้ได้ว่า นั่นเป็นผีดอยหลวง (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560 และ พ่ออิ่นคำ นิปุนะ, 2560)

ผีดอยหลวง มักมาขโมยของชาวแม่แจ่มอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งมาขโมยวัวของชาวบ้านห้วยริน ไปถึง 20 ตัว ซึ่งวัวเหล่านั้นได้แขวนฮอกหรือกระดึงเหล็กเอาไว้ เมื่อชาวบ้านตามไป ก็เห็นรอยน้ำขุ่นของวัวที่เพิ่งผ่านไป รวมถึงได้ยินเสียงกระดึง อยู่ไม่ไกล แต่มองไม่เห็นวัวทั้งฝูง นอกจากว่าจะมาขโมยวัวแล้ว มักจะมาขโมยข้าวที่อยู่ในนาด้วย และจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเอาข้าวมาใส่ยุ้งแล้ว ปีไหนที่ได้ข้าวน้อยกว่าทุกปี แสดงว่าปีนั้น ผีดอยหลวงมาขโมยเอาไป และมักจะประมาณ 3 ปีไหน จะมาขโมยเสียทีหนึ่ง ซึ่งการที่ผีดอยหลวงมาขโมยเอานี้ มีที่นั่งม้าขี่ หรือร่างทรงมาบอกว่า “ตู๋มาเอาเข้า” ซึ่งก็หมายถึงผีดอยหลวง และผีดอยหลวงมีหอผีอยู่บริเวณวัดเหล่าป่าตาล บ้านแม่ปาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ดอยหลวง (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
นอกจากนี้สมัยก่อน การที่จะนุ่งซิ่นกะเหรี่ยงสีแดง เสื้อสีดางไปดอยหลวง ไม่ได้โดยเด็ดขาด หาไม่จะไม่สบาย อย่างมากถึงตาย ถ้าหากไม่ตายก็ป่วยหนัก การแก้ไข ก็จะต้องเอาวัว ที่ “กีบเผิ้งหางไหม” คือวัวที่มีกีบเท้าและขนหางมีสีเหลืองไปเลี้ยง 1 ตัว ถึงจะหาย (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)

“เรื่องทำไมงูถึงลอกคราบ”
เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าใช้ให้ควายมาบอกคนว่า ให้คนลอกคราบ และให้งูตาย เมื่อควายรับคำจากพระเจ้าแล้ว ก็มาบอกคน แต่บอกสับกันว่า ให้คนตาย และให้งูลอกคราบ เมื่อมาบอกแล้ว ควายก็กลับไปหาพระเจ้า พระเจ้าถามว่าไปบอกคนว่าอย่างไร ควายก็ไม่ยอมบอกออกไป เพราะตนเองไปบอกผิด เลยส่งเสียงไปว่า “งวะ” พระเจ้าทราบว่าควายไปบอกผิดแน่แล้ว จึงเอาเท้าถีบปากควาย ฟันบนของควายจึงไม่มีถึงวันนี้ ส่วนคนนั้นหนุ่มก็ตายเฒ่าก็ตาย และงู แก่ตัวมาก็ลอกคราบใหม่จนถึงทุกวันนี้ (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
เรื่องเดียวกันนี้เอง ชาวลัวะก็ให้คำอธิบายถึงว่า ทำไมต้องใช้ควายในการเลี้ยงผี ด้วยควายทำผิดที่มาบอกคนว่า ให้คนตายและให้งูลอกคราบ ฉะนั้นการใช้ควายเลี้ยงผีจึงไม่ใช่ความผิดบาปอะไร (สัมภาษณ์ นายอะดี เกตุรัตนสมบูรณ์, 2560)
“เรื่องทำไมงูถึงลอกคราบ”
เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าใช้ให้ควายมาบอกคนว่า ให้คนลอกคราบ และให้งูตาย เมื่อควายรับคำจากพระเจ้าแล้ว ก็มาบอกคน แต่บอกสับกันว่า ให้คนตาย และให้งูลอกคราบ เมื่อมาบอกแล้ว ควายก็กลับไปหาพระเจ้า พระเจ้าถามว่าไปบอกคนว่าอย่างไร ควายก็ไม่ยอมบอกออกไป เพราะตนเองไปบอกผิด เลยส่งเสียงไปว่า “งวะ” พระเจ้าทราบว่าควายไปบอกผิดแน่แล้ว จึงเอาเท้าถีบปากควาย ฟันบนของควายจึงไม่มีถึงวันนี้ ส่วนคนนั้นหนุ่มก็ตายเฒ่าก็ตาย และงู แก่ตัวมาก็ลอกคราบใหม่จนถึงทุกวันนี้ (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
เรื่องเดียวกันนี้เอง ชาวลัวะก็ให้คำอธิบายถึงว่า ทำไมต้องใช้ควายในการเลี้ยงผี ด้วยควายทำผิดที่มาบอกคนว่า ให้คนตายและให้งูลอกคราบ ฉะนั้นการใช้ควายเลี้ยงผีจึงไม่ใช่ความผิดบาปอะไร (สัมภาษณ์ นายอะดี เกตุรัตนสมบูรณ์, 2560)

“เรื่องทำไมเสือถึงมีลูกไม่มาก”
พระเจ้าบอกเสือว่า ให้ไปบอกพวกเดียวกันเองว่า ปีไหน ให้เกิดลูก 9 ตัว เสือก็ท่องคำที่พระเจ้าบอกมาตามทาง เรื่องนี้ร้อนถึงพระอินทร์ พระอินทร์คิดว่า หากเสือเกิดลูก ปีละ 9 ตัวดังนั้น ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายจะถึงคราวฉิบหายแน่ จึงใช้ให้เทวดา แปลงกายเป็นนกขุ้ม ทำรังอยู่ริมทาง เมื่อเสือท่องคำที่พระเจ้าบอก ฮึมฮัมมาตามทาง นกขุ้มที่ทำรังนั้นก็กระพือปีกบินขึ้นผ่านหน้าเสือ เสือตกใจ จึงจำคำที่พระเจ้าบอกมาผิด จาก ปีไหนให้มี 9 ลูก ก็กลายเป็น 9 ปีใหน ให้มีลูก 1 ตัว และเสือก็มีลูกยากด้วยเหตุฉะนี้ (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)
“เรื่องทำไมเสือถึงมีลูกไม่มาก”
พระเจ้าบอกเสือว่า ให้ไปบอกพวกเดียวกันเองว่า ปีไหน ให้เกิดลูก 9 ตัว เสือก็ท่องคำที่พระเจ้าบอกมาตามทาง เรื่องนี้ร้อนถึงพระอินทร์ พระอินทร์คิดว่า หากเสือเกิดลูก ปีละ 9 ตัวดังนั้น ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายจะถึงคราวฉิบหายแน่ จึงใช้ให้เทวดา แปลงกายเป็นนกขุ้ม ทำรังอยู่ริมทาง เมื่อเสือท่องคำที่พระเจ้าบอก ฮึมฮัมมาตามทาง นกขุ้มที่ทำรังนั้นก็กระพือปีกบินขึ้นผ่านหน้าเสือ เสือตกใจ จึงจำคำที่พระเจ้าบอกมาผิด จาก ปีไหนให้มี 9 ลูก ก็กลายเป็น 9 ปีใหน ให้มีลูก 1 ตัว และเสือก็มีลูกยากด้วยเหตุฉะนี้ (สัมภาษณ์ แม่อุ๊ยสวน ริจ่าม, 2560)

“ซอ”
ซอ เป็นวรรณกรรมแบบมุขปาฐะ โดยทั่วไปมักจะเป็นการโต้ตอบกันด้วยปฏิภาณระหว่างช่างซอชายและช่างซอหญิง อำเภอแม่แจ่ม เป็นอำเภอที่ผู้คนนิยมฟังซอกันอย่างมาก จะพบเห็นว่า ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ มักจะมีการว่าจ้างช่างซอมาซอให้ความบันเทิงอยู่ตลอดเวลา บางวัดนิยมสร้างผามซอ หรือเวทีซอแบบถาวรไว้กับวัด การการฟังซอของชาวแม่แจ่ม เป็นการฟังแบบตั้งใจ เข้าใจถึงถ้อยคำและจังหวะ ว่ากันว่า ช่างซอคนไหนซอผิด หรือช่างปี่คนไหนเป่าปี่ผิด ชาวบ้านแม่แจ่มจะรู้ได้โดยทันที
จากการรับฟังซออย่างตั้งใจนี้ ทำให้ชาวแม่แจ่มบางท่านสามารถแต่งบทซอได้ อย่างเช่น ซอ 4 บาท, ซอเพลงสวนหอมและสวนกะหล่ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นอกจากนี้ยังมีช่างซอรับจ้าง ที่ลงผามหรือเลิกซอไปแล้วก็มี เช่น แม่ผัน บ้านเหล่าป่าก่อ เป็นต้น ปัจจุบัน ช่างซอรับจ้างตามงาม ที่มาจากแม่แจ่ม ก็มีอยู่ 3 คนด้วยกัน คือ “อ้อมจันทร์ แม่แจ่ม” หรือชื่อจริง คือ นางอวิกา แก้วเมืองมา , “คำหน้อย แม่แจ่ม” หรือชื่อจริงคือ นางธารทิพย์ บุญเทียม และแก้วลี แม่แจ่ม หรือชื่อจริงคือ เกวลี มังกาละ


นอกจากการซอจะใช้ในการให้ความบันเทิงในงานเฉลิมฉลองต่างๆ แล้ว ซอ ยังใช้ในพิธีกรรมด้วย โดยเฉพาะการเลี้ยงผีเมือง ซึ่งในการเชิญเจ้าหลวงมานั้น จะต้องมีการซอเชิญ ในแต่ละหอ จะมีคนที่ทำหน้าที่เป็นช่างปี่ และช่างซอ ประจำหอเจ้าหลวงนั้นๆ ด้วยเสมอ โดยการซอในงานพ่อเจ้าหลวงนั้น ช่างซอจะเริ่มตั้งแต่ ตั้งเชียงใหม่ กลายเชียงแสน จะปุ และปิดท้ายด้วยทำนอง ละม้าย อันเป็นทำนองหลักในการเชิญ (สัมภาษณ์นายก้อนแก้ว ทะบุญ, 2560)
ช่างซอประจำหอเจ้าหลวง คนปัจจุบัน คือ พ่อนวล แสนปัญญา ซึ่งตัวพ่อนวลเองนั้นไม่ใช่คนแม่แจ่มแต่เป็นจอมทอง และได้เป็นลูกศิษย์พ่อแก้วตาไหล และเริ่มซอตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมา ไปซอรับจ้างที่ต่างๆ สุดท้ายก็ได้มาเป็นเขยที่บ้านยางหลวง จากนั้นก็ได้รับเลือกให้เป็นช่างซอประจำหอเจ้าหลวงม่วงก๋อน ในการซอเชิญพ่อเจ้าหลวง โดยร่วมกับ พ่อปั๋น สุภาใจ เป็นช่างซึง และพ่อเหมย มังกาละ เป็นช่างปี่
พ่อนวลเมื่อเป็นช่างซอพ่อเจ้าหลวงแล้ว ทำให้การซอนั่งผามน้อยลงไป ด้วยข้อกำหนดในการเป็นช่างซอของพ่อเจ้าหลวงนั้นมาก แต่ด้วยบางครั้งจำเป็นต้อง ซอ หาเลี้ยงชีพ จึงต้องทำการขออนุญาตจากพ่อเจ้าหลวง แต่ก็จะซอแบบในศีลในธรรมได้เท่านั้น ไม่สามารถออกซอบู๊ได้ (สัมภาษณ์นายนวล แสนปัญญา, 2560)

“ซอ”
ซอ เป็นวรรณกรรมแบบมุขปาฐะ โดยทั่วไปมักจะเป็นการโต้ตอบกันด้วยปฏิภาณระหว่างช่างซอชายและช่างซอหญิง อำเภอแม่แจ่ม เป็นอำเภอที่ผู้คนนิยมฟังซอกันอย่างมาก จะพบเห็นว่า ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ มักจะมีการว่าจ้างช่างซอมาซอให้ความบันเทิงอยู่ตลอดเวลา บางวัดนิยมสร้างผามซอ หรือเวทีซอแบบถาวรไว้กับวัด การการฟังซอของชาวแม่แจ่ม เป็นการฟังแบบตั้งใจ เข้าใจถึงถ้อยคำและจังหวะ ว่ากันว่า ช่างซอคนไหนซอผิด หรือช่างปี่คนไหนเป่าปี่ผิด ชาวบ้านแม่แจ่มจะรู้ได้โดยทันที
จากการรับฟังซออย่างตั้งใจนี้ ทำให้ชาวแม่แจ่มบางท่านสามารถแต่งบทซอได้ อย่างเช่น ซอ 4 บาท, ซอเพลงสวนหอมและสวนกะหล่ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นอกจากนี้ยังมีช่างซอรับจ้าง ที่ลงผามหรือเลิกซอไปแล้วก็มี เช่น แม่ผัน บ้านเหล่าป่าก่อ เป็นต้น ปัจจุบัน ช่างซอรับจ้างตามงาม ที่มาจากแม่แจ่ม ก็มีอยู่ 3 คนด้วยกัน คือ “อ้อมจันทร์ แม่แจ่ม” หรือชื่อจริง คือ นางอวิกา แก้วเมืองมา , “คำหน้อย แม่แจ่ม” หรือชื่อจริงคือ นางธารทิพย์ บุญเทียม และแก้วลี แม่แจ่ม หรือชื่อจริงคือ เกวลี มังกาละ


นอกจากการซอจะใช้ในการให้ความบันเทิงในงานเฉลิมฉลองต่างๆ แล้ว ซอ ยังใช้ในพิธีกรรมด้วย โดยเฉพาะการเลี้ยงผีเมือง ซึ่งในการเชิญเจ้าหลวงมานั้น จะต้องมีการซอเชิญ ในแต่ละหอ จะมีคนที่ทำหน้าที่เป็นช่างปี่ และช่างซอ ประจำหอเจ้าหลวงนั้นๆ ด้วยเสมอ โดยการซอในงานพ่อเจ้าหลวงนั้น ช่างซอจะเริ่มตั้งแต่ ตั้งเชียงใหม่ กลายเชียงแสน จะปุ และปิดท้ายด้วยทำนอง ละม้าย อันเป็นทำนองหลักในการเชิญ (สัมภาษณ์นายก้อนแก้ว ทะบุญ, 2560)
ช่างซอประจำหอเจ้าหลวง คนปัจจุบัน คือ พ่อนวล แสนปัญญา ซึ่งตัวพ่อนวลเองนั้นไม่ใช่คนแม่แจ่มแต่เป็นจอมทอง และได้เป็นลูกศิษย์พ่อแก้วตาไหล และเริ่มซอตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมา ไปซอรับจ้างที่ต่างๆ สุดท้ายก็ได้มาเป็นเขยที่บ้านยางหลวง จากนั้นก็ได้รับเลือกให้เป็นช่างซอประจำหอเจ้าหลวงม่วงก๋อน ในการซอเชิญพ่อเจ้าหลวง โดยร่วมกับ พ่อปั๋น สุภาใจ เป็นช่างซึง และพ่อเหมย มังกาละ เป็นช่างปี่
พ่อนวลเมื่อเป็นช่างซอพ่อเจ้าหลวงแล้ว ทำให้การซอนั่งผามน้อยลงไป ด้วยข้อกำหนดในการเป็นช่างซอของพ่อเจ้าหลวงนั้นมาก แต่ด้วยบางครั้งจำเป็นต้อง ซอ หาเลี้ยงชีพ จึงต้องทำการขออนุญาตจากพ่อเจ้าหลวง แต่ก็จะซอแบบในศีลในธรรมได้เท่านั้น ไม่สามารถออกซอบู๊ได้ (สัมภาษณ์นายนวล แสนปัญญา, 2560)


“ธา”
นอกจากเรื่องเล่า หรือนิทานต่างๆ แล้ว วรรณกรรมมุขปาฐะของชาวกะเหรี่ยง ยังมีอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า “ธา” การที่นำ “ธา” ขับขานออกมาเรียกว่าการอื่อ หรือ “อื่อธา”
ธา เป็นกวีนิพนธ์ประเภทหนึ่ง ใช้อื่อในงานต่างๆ ทั้งที่ประกอบเครื่องดนตรี เตหน่า มักจะใช้ประกอบการแสดง และการอื่อธาที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ จะใช้ในงานแต่งงาน และงานศพ
ธา เป็นเรื่องราวที่เล่าถึงสิ่งต่างๆ ทั้งวิถีชีวิต และธรรมชาติ สามารถนำมาอื่อธาในงานต่างๆ ได้ โดยใช้อื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการจะสื่อสารออกไป ส่วนธาที่อยู่ในจารีตเดิมคือการอื่อธาในงานศพ
การอื่อธาในงานศพ มักเป็นเรื่องคำสอนในการครองเรือน ด้วยงานศพ เป็นงานที่หนุ่มสาวมักมาพบเจอกัน การอื่อธาในงานศพจึงเป็นคำสอนให้กับหนุ่มสาว และที่สำคัญแต่เดิมจะไปสอนกันในป่า บอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560)

“ธา”
นอกจากเรื่องเล่า หรือนิทานต่างๆ แล้ว วรรณกรรมมุขปาฐะของชาวกะเหรี่ยง ยังมีอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า “ธา” การที่นำ “ธา” ขับขานออกมาเรียกว่าการอื่อ หรือ “อื่อธา”
ธา เป็นกวีนิพนธ์ประเภทหนึ่ง ใช้อื่อในงานต่างๆ ทั้งที่ประกอบเครื่องดนตรี เตหน่า มักจะใช้ประกอบการแสดง และการอื่อธาที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ จะใช้ในงานแต่งงาน และงานศพ
ธา เป็นเรื่องราวที่เล่าถึงสิ่งต่างๆ ทั้งวิถีชีวิต และธรรมชาติ สามารถนำมาอื่อธาในงานต่างๆ ได้ โดยใช้อื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการจะสื่อสารออกไป ส่วนธาที่อยู่ในจารีตเดิมคือการอื่อธาในงานศพ
การอื่อธาในงานศพ มักเป็นเรื่องคำสอนในการครองเรือน ด้วยงานศพ เป็นงานที่หนุ่มสาวมักมาพบเจอกัน การอื่อธาในงานศพจึงเป็นคำสอนให้กับหนุ่มสาว และที่สำคัญแต่เดิมจะไปสอนกันในป่า บอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560)


“แล”
แล เป็นภาษาลัวะ อันหมายถึง วรรณกรรมแบบมุขปาฐะชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับขาน มักพบในพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานศพ เป็นต้น มักจะมีคู่ถ้อง คือคู่ร้องตอบโต้กัน คล้ายกับการซอ บางทีก็เรียกว่า “ซอลัวะ”
แล นั้นเป็นการขับขาน โดยไม่มีดนตรีประกอบ อย่างกับ ธา ของกะเหรี่ยง หรือ ซอ ของคนไทยวน จะขับขานในลักษณะของการ ถาม – ตอบระหว่างชายหญิง เช่น ในงานขึ้นเรือนใหม่ ก็จะมีการแบ่งระหว่างคู่ถ้องสองคน โดยคนหนึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายเจ้าบ้าน อีกคนหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้มาเยือน ดังนั้น การ “แล” จึงจะมีลักษณะของการเชื้อเชิญ และสอบถามสารทุกข์สุกดิบ ระหว่างช่างแล ทั้งสองคน
บางที อาจจะเป็นการแล เกี้ยวกันระหว่างชายหญิง ก็มี

“แล”
แล เป็นภาษาลัวะ อันหมายถึง วรรณกรรมแบบมุขปาฐะชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับขาน มักพบในพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานศพ เป็นต้น มักจะมีคู่ถ้อง คือคู่ร้องตอบโต้กัน คล้ายกับการซอ บางทีก็เรียกว่า “ซอลัวะ”
แล นั้นเป็นการขับขาน โดยไม่มีดนตรีประกอบ อย่างกับ ธา ของกะเหรี่ยง หรือ ซอ ของคนไทยวน จะขับขานในลักษณะของการ ถาม – ตอบระหว่างชายหญิง เช่น ในงานขึ้นเรือนใหม่ ก็จะมีการแบ่งระหว่างคู่ถ้องสองคน โดยคนหนึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายเจ้าบ้าน อีกคนหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้มาเยือน ดังนั้น การ “แล” จึงจะมีลักษณะของการเชื้อเชิญ และสอบถามสารทุกข์สุกดิบ ระหว่างช่างแล ทั้งสองคน
บางที อาจจะเป็นการแล เกี้ยวกันระหว่างชายหญิง ก็มี
