ภาษา
ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีการดำรงชีวิตของชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อน โลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด ปัจจุบัน วัฒนธรรมหลักในเขตอำเภอแม่แจ่มคือวัฒนธรรมไทยวน ใช้ภาษาไทยวนเป็นหลัก อันเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ที่พูดภาษาอื่นๆ เช่น กะเหรี่ยง ลัวะ ม้ง

ภาษาไทยวน หรือ ภาษาคำเมือง
ภาษาคำเมือง หรือภาษาไทยวนเป็นภาษาในตระกูลไท และเป็นภาษาหลักคล้ายกับคำเมืองทั่วไป แต่ สำเนียงของแม่แจ่ม จะมีความใกล้เคียงกับสำเนียงของเชียงใหม่สายใต้ อันได้แก่อำเภอหางดงลงไป ที่มักจะมีการเอื้อนเสียงพูด โดยเฉพาะเสียงสระไอ บางทีจะออกเสียงคล้ายกับ ออย ทำให้คนที่ไม่คุ้นเคยมักจะเข้าใจผิด เช่น บ้านห้วยไห ก็จะออกเสียงคล้ายกับ บ้านห้วยหอย ทำให้คนฟังนึกถึงหอยชนิดต่างๆ ที่อยู่ในน้ำไป แต่เมื่อคุ้นเคยดีแล้ว ก็จะเข้าใจดีว่า เสียงที่ออกเป็น ออย นั้น เป็นเสียงออยจริง หรือเสียงไอ
นอกจากนี้ คำสร้อยที่บ่งชัดของพื้นที่แม่แจ่ม นั่นคือคำว่า “แอ่” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวแม่แจ่ม เวลาพูดอะไรมักจะลงท้ายว่า แอ่ คล้ายกับที่ลำปางมักลงท้ายว่า หนา นั่นเอง

“แม่แจ่ม…แอ่” มักนำมาเป็นกลเม็ด (gimmick) ในการประชาสัมพันธ์ แม่แจ่ม ดังจุดชมวิว ปากทางเข้าบ้านแม่ปาน ก็จะมีป้ายเด่นชัด รวมถึง หน้าธนาคารออมสิน ของอำเภอแม่แจ่ม ที่ใช้คำลงท้ายของชาวแม่แจ่มเป็นจุดเด่นจุดขาย
นอกจากภาษาพูดแล้ว ยังมีภาษาเขียนอีกด้วย
แม่แจ่มมีการพบอักษรทั้งอักษรธรรม ทั้งที่เป็นอักษรธรรมรุ่นเก่าที่ติดกับฐานพระพุทธรูปบริเวณ คิชกูฏ วัดยางหลวง และอักษรฝักขามที่จารึกบนแผ่นไม้วัดช่างเคิ่ง อันว่าจารึกวัดพระธาตุช่างเคิ่งนี้ เป็นจารึกอักษรฝักขามบนแผ่นไม้ สร้างโดยเจ้าแก้วเมืองมา พ.ศ.2391 ซึ่งถือว่า เป็นอักษรฝักขามที่มีอายุน้อยมากในปัจจุบัน


ที่มา: ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ส่วนปัจจุบัน อักษรธรรมเป็นอักษรล้านนาใช้บันทึกเรื่องราว ทั้งตำรา พิธีกรรม พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นต้น คนที่รู้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ส่วนคนรุ่นใหม่มีไม่กี่คนที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้

อำเภอแม่แจ่มยังคงมีจารีตการเขียนธรรมถวาย โดยเป็นการจารลงบนใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา เช่น พ่อหนานปั๋น บ้านอาฮาม, พ่อหนานทอง นิปุณะ เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ว่าจ้างให้จาร
ภาษาไทยวน หรือ ภาษาคำเมือง
ภาษาคำเมือง หรือภาษาไทยวนเป็นภาษาในตระกูลไท และเป็นภาษาหลักคล้ายกับคำเมืองทั่วไป แต่ สำเนียงของแม่แจ่ม จะมีความใกล้เคียงกับสำเนียงของเชียงใหม่สายใต้ อันได้แก่อำเภอหางดงลงไป ที่มักจะมีการเอื้อนเสียงพูด โดยเฉพาะเสียงสระไอ บางทีจะออกเสียงคล้ายกับ ออย ทำให้คนที่ไม่คุ้นเคยมักจะเข้าใจผิด เช่น บ้านห้วยไห ก็จะออกเสียงคล้ายกับ บ้านห้วยหอย ทำให้คนฟังนึกถึงหอยชนิดต่างๆ ที่อยู่ในน้ำไป แต่เมื่อคุ้นเคยดีแล้ว ก็จะเข้าใจดีว่า เสียงที่ออกเป็น ออย นั้น เป็นเสียงออยจริง หรือเสียงไอ
นอกจากนี้ คำสร้อยที่บ่งชัดของพื้นที่แม่แจ่ม นั่นคือคำว่า “แอ่” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวแม่แจ่ม เวลาพูดอะไรมักจะลงท้ายว่า แอ่ คล้ายกับที่ลำปางมักลงท้ายว่า หนา นั่นเอง

“แม่แจ่ม…แอ่” มักนำมาเป็นกลเม็ด (gimmick) ในการประชาสัมพันธ์ แม่แจ่ม ดังจุดชมวิว ปากทางเข้าบ้านแม่ปาน ก็จะมีป้ายเด่นชัด รวมถึง หน้าธนาคารออมสิน ของอำเภอแม่แจ่ม ที่ใช้คำลงท้ายของชาวแม่แจ่มเป็นจุดเด่นจุดขาย
นอกจากภาษาพูดแล้ว ยังมีภาษาเขียนอีกด้วย
แม่แจ่มมีการพบอักษรทั้งอักษรธรรม ทั้งที่เป็นอักษรธรรมรุ่นเก่าที่ติดกับฐานพระพุทธรูปบริเวณ คิชกูฏ วัดยางหลวง และอักษรฝักขามที่จารึกบนแผ่นไม้วัดช่างเคิ่ง อันว่าจารึกวัดพระธาตุช่างเคิ่งนี้ เป็นจารึกอักษรฝักขามบนแผ่นไม้ สร้างโดยเจ้าแก้วเมืองมา พ.ศ.2391 ซึ่งถือว่า เป็นอักษรฝักขามที่มีอายุน้อยมากในปัจจุบัน


ที่มา: ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ส่วนปัจจุบัน อักษรธรรมเป็นอักษรล้านนาใช้บันทึกเรื่องราว ทั้งตำรา พิธีกรรม พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นต้น คนที่รู้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ส่วนคนรุ่นใหม่มีไม่กี่คนที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้

อำเภอแม่แจ่มยังคงมีจารีตการเขียนธรรมถวาย โดยเป็นการจารลงบนใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา เช่น พ่อหนานปั๋น บ้านอาฮาม, พ่อหนานทอง นิปุณะ เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ว่าจ้างให้จาร

ภาษากะเหรี่ยง
ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า และมีสาขาย่อยลงไปอีกหลายกลุ่ม แต่ในอำเภอแม่แจ่ม ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงสะกอ และมีกะเหรี่ยงโป อยู่บางส่วน
ซึ่งภาษากะเหรียงสะกอ และกะเหรี่ยงโป จะพูดไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะอยู่ตระกูลเดียวกันก็ตาม และจะพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ฉะนั้น การพูดคุยกันระหว่างกลุ่มจึงจำเป็นต้องใช้กลุ่มหลักนั่นคือ ภาษาสะกอ ในการติดต่อสื่อสารกัน
ภาษาสะกอ ก็ยังคงมีหลายสำเนียงด้วย เช่นกะเหรี่ยงสะกอในอำเภอแม่แจ่ม และอำเภอแม่สะเรียง ก็พูดคุยกันคนละสำเนียงที่แตกต่างในระดับเสียงวรรณยุกต์ (สัมภาษณ์ นายอนันต์ สุขสันต์ฤทัย, 2560)
ภาษากะเหรี่ยงแต่เดิมไม่มีอักษรใช้ เวลาจะบันทึก ก็จะใช้อักษรไทยในการเขียน แต่ก็มีข้อจำกัน การเขียนด้วยอักษรไทยมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษากะเหรี่ยง
ปัจจุบัน อักษรทีชาวกะเหรี่ยงสะกอใช้บันทึกเรื่องราวของตัวเอง มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน ซึ่งเข้ามากับการสอนศาสนาคริสต์ (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560)
1. อักษรโรมัน เข้ามาในแม่แจ่มโดยการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิการคาทอลิก
2. อักษรที่พัฒนามาจากอักษรพม่า มักจะเป็นกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายโปแตสแตนต์ และกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และมักพบเห็นในเขตอำเภอจอมทอง และในอำเภอแม่แจ่ม ก็จะเห็นป้ายที่เป็นอักษรนี้
ภาษากะเหรี่ยง
ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า และมีสาขาย่อยลงไปอีกหลายกลุ่ม แต่ในอำเภอแม่แจ่ม ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงสะกอ และมีกะเหรี่ยงโป อยู่บางส่วน
ซึ่งภาษากะเหรียงสะกอ และกะเหรี่ยงโป จะพูดไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะอยู่ตระกูลเดียวกันก็ตาม และจะพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ฉะนั้น การพูดคุยกันระหว่างกลุ่มจึงจำเป็นต้องใช้กลุ่มหลักนั่นคือ ภาษาสะกอ ในการติดต่อสื่อสารกัน
ภาษาสะกอ ก็ยังคงมีหลายสำเนียงด้วย เช่นกะเหรี่ยงสะกอในอำเภอแม่แจ่ม และอำเภอแม่สะเรียง ก็พูดคุยกันคนละสำเนียงที่แตกต่างในระดับเสียงวรรณยุกต์ (สัมภาษณ์ นายอนันต์ สุขสันต์ฤทัย, 2560)
ภาษากะเหรี่ยงแต่เดิมไม่มีอักษรใช้ เวลาจะบันทึก ก็จะใช้อักษรไทยในการเขียน แต่ก็มีข้อจำกัน การเขียนด้วยอักษรไทยมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษากะเหรี่ยง
ปัจจุบัน อักษรทีชาวกะเหรี่ยงสะกอใช้บันทึกเรื่องราวของตัวเอง มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน ซึ่งเข้ามากับการสอนศาสนาคริสต์ (สัมภาษณ์ นายสิงหา แซ่ตึ้ง, 2560)
1. อักษรโรมัน เข้ามาในแม่แจ่มโดยการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิการคาทอลิก
2. อักษรที่พัฒนามาจากอักษรพม่า มักจะเป็นกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายโปแตสแตนต์ และกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และมักพบเห็นในเขตอำเภอจอมทอง และในอำเภอแม่แจ่ม ก็จะเห็นป้ายที่เป็นอักษรนี้

ภาษาลัวะ (ละเวือะ)
ภาษาลัวะเป็นภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ในกลุ่มมอญ-เขมร อันเป็นชนกลุ่มพื้นเมืองในบริเวณภาคเหนือของไทย และมักกล่าวถึงต้นๆ ในตำนานต่างๆ ในดินแดนแห่งนี้ ทุกคนให้ความสำคัญกับชาวลัวะว่าเป็นพี่ใหญ่
ภาษาลัวะ สำหรับคนไทยวนเอง มักจะออกเสียงยาก คำบางคำในชื่อบ้านนามเมือง อาจจะเป็นภาษาลัวะที่อยู่มาแต่เดิม แล้วพอคนไทยวนเข้ามา ก็จะลากเข้าความในภาษาไทยวน เช่น
“อมก๋อย” ที่เป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ คนไทยวนได้ยินก็เข้าใจในภาษาตนเองว่า เป็นเมืองที่อดอยากอดกลั้นจนต้องเอากลอยมาอม แต่แท้จริงแล้ว อมก๋อย เป็นภาษาลัวะ แปลว่าขุนน้ำ
“ลอง” มักจะรู้จักกันในชื่อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งคำว่าลอง ในภาษาลัวะแปลว่าดำ พอไทยวนเข้ามาจึงลากเข้าความหมายไทยวนว่า เป็นเมืองที่พระนางจามเทวีมาทดลองสร้างเมืองก่อน
“ปิง” อันเป็นชื่อแม่น้ำหลักของจังหวัดเชียงใหม่ โดย คำว่าปิง ในภาษาลัวะแปลว่า ขาว แม่น้ำปิงก็อาจจะหมายถึงขาวก็ได้ โดยที่ไทยวนได้แต่งตำนานว่า แม่น้ำปิง มาจากคำว่าแม่น้ำปลาปิ้ง
“ระมิง” คำนี้ปัจจุบันเขียนแบบภาษาบาลีว่า “ระมิงค์” อันหมายถึงแม่น้ำปิง บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะมาจากคำว่า “ลัวะ-เม็ง” แล้วกลายเป็น ระมิง แต่ในภาษาลัวนั้น ระมิง คือคำเรียกแม่น้ำปิง ในภาษาลัวะนั่นเอง
ซึ่งอาจจะมีอีกหลายคำอันเป็นชื่อบ้านนามเมืองที่เราอาจจะไม่เข้าใจ ก็อาจจะมาจากภาษาลัวะนี้เป็นต้น
ขอยกตัวอย่างภาษาลัวะในการนับเลข 1 – 10 ตามสำเนียงบ้านมืดหลอง ว่าดังนี้ เต้ะห์ ละอา ละอวย เปาน์ พอน และ อะและ สะเต้ะ สะแตม เกาน์ (สัมภาษณ์ นายอะดี เกตุรัตนสมบูรณ์, 2560)
การออกเสียงของชาวลัวะนั้น แต่ละหมู่บ้านจะออกเสียงต่างกัน โดยต่างกันในคำศัพท์คนละคำ หรือ บางคำเป็นคำเดียวกันแต่ต่างที่เสียงสั้นเสียงยาวหรือโทนเสียงต่างกัน
ภาษาลัวะยังไม่มีมีอักษรเขียน แต่ปัจจุบัน ทางราชบัณฑิตได้มีการพัฒนาให้กลุ่มที่ไม่มีอักษรใช้สามารถปรับ/ประดิษฐ์อักษรใช้เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตนเองในภาษาตนเอง ในส่วนภาษาลัวะนั้น กำลังทำกับกลุ่มชาวลัวะในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทั้ง 7 ประเภท ที่ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดไว้ โดยครอบคลุมทั้งหมดขององค์การยูเนสโก ในเขตอำเภอแม่แจ่ม มีความหลากหลาย และอุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมนานาประเภท จึงเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม ต้นทุนของชีวิตได้เป็นอย่างดี โดยจะคงอยู่และสืบทอดผ่านนักเรียน นักศึกษา จากรุ่นต่อรุ่นอย่างเหนียวแน่นและไม่ขาดตอน เป็นแรงพลังในการผลักดันวิถีชีวิตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ภาษาลัวะ (ละเวือะ)
ภาษาลัวะเป็นภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ในกลุ่มมอญ-เขมร อันเป็นชนกลุ่มพื้นเมืองในบริเวณภาคเหนือของไทย และมักกล่าวถึงต้นๆ ในตำนานต่างๆ ในดินแดนแห่งนี้ ทุกคนให้ความสำคัญกับชาวลัวะว่าเป็นพี่ใหญ่
ภาษาลัวะ สำหรับคนไทยวนเอง มักจะออกเสียงยาก คำบางคำในชื่อบ้านนามเมือง อาจจะเป็นภาษาลัวะที่อยู่มาแต่เดิม แล้วพอคนไทยวนเข้ามา ก็จะลากเข้าความในภาษาไทยวน เช่น
“อมก๋อย” ที่เป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ คนไทยวนได้ยินก็เข้าใจในภาษาตนเองว่า เป็นเมืองที่อดอยากอดกลั้นจนต้องเอากลอยมาอม แต่แท้จริงแล้ว อมก๋อย เป็นภาษาลัวะ แปลว่าขุนน้ำ
“ลอง” มักจะรู้จักกันในชื่อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งคำว่าลอง ในภาษาลัวะแปลว่าดำ พอไทยวนเข้ามาจึงลากเข้าความหมายไทยวนว่า เป็นเมืองที่พระนางจามเทวีมาทดลองสร้างเมืองก่อน
“ปิง” อันเป็นชื่อแม่น้ำหลักของจังหวัดเชียงใหม่ โดย คำว่าปิง ในภาษาลัวะแปลว่า ขาว แม่น้ำปิงก็อาจจะหมายถึงขาวก็ได้ โดยที่ไทยวนได้แต่งตำนานว่า แม่น้ำปิง มาจากคำว่าแม่น้ำปลาปิ้ง
“ระมิง” คำนี้ปัจจุบันเขียนแบบภาษาบาลีว่า “ระมิงค์” อันหมายถึงแม่น้ำปิง บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะมาจากคำว่า “ลัวะ-เม็ง” แล้วกลายเป็น ระมิง แต่ในภาษาลัวนั้น ระมิง คือคำเรียกแม่น้ำปิง ในภาษาลัวะนั่นเอง
ซึ่งอาจจะมีอีกหลายคำอันเป็นชื่อบ้านนามเมืองที่เราอาจจะไม่เข้าใจ ก็อาจจะมาจากภาษาลัวะนี้เป็นต้น
ขอยกตัวอย่างภาษาลัวะในการนับเลข 1 – 10 ตามสำเนียงบ้านมืดหลอง ว่าดังนี้ เต้ะห์ ละอา ละอวย เปาน์ พอน และ อะและ สะเต้ะ สะแตม เกาน์ (สัมภาษณ์ นายอะดี เกตุรัตนสมบูรณ์, 2560)
การออกเสียงของชาวลัวะนั้น แต่ละหมู่บ้านจะออกเสียงต่างกัน โดยต่างกันในคำศัพท์คนละคำ หรือ บางคำเป็นคำเดียวกันแต่ต่างที่เสียงสั้นเสียงยาวหรือโทนเสียงต่างกัน
ภาษาลัวะยังไม่มีมีอักษรเขียน แต่ปัจจุบัน ทางราชบัณฑิตได้มีการพัฒนาให้กลุ่มที่ไม่มีอักษรใช้สามารถปรับ/ประดิษฐ์อักษรใช้เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตนเองในภาษาตนเอง ในส่วนภาษาลัวะนั้น กำลังทำกับกลุ่มชาวลัวะในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทั้ง 7 ประเภท ที่ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดไว้ โดยครอบคลุมทั้งหมดขององค์การยูเนสโก ในเขตอำเภอแม่แจ่ม มีความหลากหลาย และอุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมนานาประเภท จึงเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม ต้นทุนของชีวิตได้เป็นอย่างดี โดยจะคงอยู่และสืบทอดผ่านนักเรียน นักศึกษา จากรุ่นต่อรุ่นอย่างเหนียวแน่นและไม่ขาดตอน เป็นแรงพลังในการผลักดันวิถีชีวิตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง